ความเศร้าโศก ความรู้สึกหดหู่ และการหมดความสนใจหรือไม่มีความสุขในการใช้ชีวิตประจำวัน ถือเป็นความรู้สึกที่คุ้นเคยสำหรับเราทุกคน แต่ถ้าสิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ ไม่หายไปและส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราอย่างมาก ปัญหานี้เรียกว่า ภาวะซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นโรคทางจิตที่พบบ่อยที่สุดในโลก ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) โรคนี้ส่งผลกระทบทั้งต่อผู้ใหญ่ วัยรุ่น และเด็ก
ในบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้ว่าโรคซึมเศร้าคืออะไร และเกิดจากอะไร นอกจากนี้เรายังอธิบายประเภทการรักษาและอื่นๆ
คำจำกัดความ
โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเศร้า และการสูญเสียความสนใจอย่างต่อเนื่อง โรคนี้มีความแตกต่างจากความแปรปรวนของอารมณ์ที่ผู้คนมักพบในชีวิตประจำวัน
เหตุการณ์สำคัญในชีวิต เช่น การสูญเสียหรือการตกงาน สามารถนำไปสู่ ภาวะซึมเศร้าได้ อย่างไรก็ตามแพทย์จะถือว่าความรู้สึกเศร้าโศกเป็นส่วนหนึ่งของภาวะซึมเศร้า
อาการซึมเศร้าเป็นปัญหาต่อเนื่อง ไม่ใช่ปัญหาที่ผ่านมาแล้วผ่านไป ภาวะซึมเศร้ามักมีอาการเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ อาการซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นได้เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปี
อาการและอาการแสดง
อาการของโรคซึมเศร้า
● อารมณ์หดหู่
● หมดความสนใจ หรือมีไม่ความสุขในกิจกรรมที่เคยมีความสุข
● หมดความต้องการทางเพศ
● เบื่ออาหาร
● น้ำหนักลดหรือเพิ่ม โดยไม่ได้ตั้งใจ
● นอนหลับมากเกินไป หรือ นอนไม่หลับ
● ความกระสับกระส่าย ผุดลุกผุดนั่ง
● การเคลื่อนไหวและการพูดช้าลง
● รู้สึกเหนื่อยล้า หรือ รู้สึกสูญเสียพลังงาน
● ความรู้สึกตัวเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิด
● ไม่มีสมาธิหรือการตัดสินใจลดลง
● คิดเรื่องการฆ่าตัวตายซ้ำๆ เรื่องการตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย
ในเพศหญิง
อาการซึมเศร้า มักพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า อิงตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC)
ด้านล่างนี้คือบางอาการของภาวะซึมเศร้า ที่มักจะพบในเพศหญิง
● มีความหงุดหงิด
● มีความวิตกกังวล
● อารมณ์แปรปรวน
● อ่อนเพลีย
● ครุ่นคิด (อยู่กับความคิดเชิงลบ)
นอกจากนี้ยังมีอาการ บางประเภท ของภาวะซึมเศร้า ที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับเพศหญิงเช่น
● ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
● อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน
ในเพศชาย
ประมาณร้อยละ 9 ของผู้ชายในสหรัฐอเมริกา มีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล ตามข้อมูลของสมาคมโรคจิตเวชแห่งอเมริกา (American Psychological Association)
เพศชายที่มีภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มที่จะดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก แสดงความโกรธและโมโหง่าย
อาการอื่นๆ ของภาวะซึมเศร้าในเพศชาย
● หลีกเลี่ยงการพบหน้าคนในครอบครัว และหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม
● ทำงานโดยไม่หยุดพัก
● ความรับผิดชอบในการทำงานและความรับผิดชอบในครอบครัวลดลง
● แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ในนักศึกษามหาวิทยาลัย
เวลาอยู่ในมหาวิทยาลัยอาจทำให้เครียดและบางคนอาจกำลังเผชิญกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและประสบการณ์ไหม่ๆ เป็นครั้งแรก
นักศึกษาบางคน มีปัญหาในการ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และอาจเกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือทั้งสองอย่าง
อาการของภาวะซึมเศร้าในนักศึกษา
● การจดจ่อกับงานที่ได้รับมอบหมายในโรงเรียนลดลง
● นอนไม่หลับ
● นอนหลับมากเกินไป
● ความอยากอาหารลดลง หรือ เพิ่มขึ้น
● หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม และกิจกรรมที่พวกเขาเคยรู้สึกเพลิดเพลิน
ในวัยรุ่น
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ความกดดันจากเพื่อนและปัจจัยอื่นๆ อาจทำให้เกิด ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น
พวกเขาอาจพบอาการบางอย่างต่อไปนี้:
● ถอนตัวจากเพื่อนและครอบครัว
● การจดจ่อกับงานที่ได้รับมอบหมายในโรงเรียนลดลง
● รู้สึกผิด ทำอะไรไม่ถูก หรือไร้ค่า
● กระสับกระส่าย เช่น ไม่สามารถนั่งนิ่งได้
ในเด็ก
กรมป้องกันและควบคุมโรค ( CDC ) ประเมินว่าในสหรัฐอเมริการ้อยละ 3.2 ของเด็กและวัยรุ่นอายุ 3-17 ปี มีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า
ในเด็ก อาการอาจทำให้การทำงานในโรงเรียน และกิจกรรมทางสังคมของเด็กลดน้อยลง พวกเขาอาจพบอาการต่างๆ เช่น:
● ร้องไห้
● ไม่กระตือรือร้น
● ยึดติดกับอะไรบางอย่าง
● มีพฤติกรรมที่ท้าทายต่อผู้ปกครอง
● กรีดร้องเสียงดัง
เด็กที่อายุน้อย อาจมีปัญหาในการแสดงความรู้สึกออกมาเป็นคำพูด ซึ่งอาจทำให้อธิบายความรู้สึกเศร้าได้ยากขึ้น
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
ในวงการแพทย์ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะซึมเศร้า อาจมีสาเหตุหลายประการที่เป็นไปได้ และในบางครั้งหลายๆปัจจัย ก็สามารถรวมกันแล้วกระตุ้นให้เกิดอาการได้
ปัจจัยที่มีแนวโน้มที่จะมีบทบาท ได้แก่
● ลักษณะทางพันธุกรรม
● การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง
● ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
● ปัจจัยทางจิตวิทยาและสังคม
● ภาวะโรคที่มีอยู่เดิมเช่น โรคอารมณ์สองขั้ว
การรักษา
อาการซึมเศร้าสามารถรักษาได้ และการควบคุมอาการ มักประกอบไปด้วย 3 อย่าง :
การสนับสนุน: ซึ่งอาจมีตั้งแต่การคอยให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ รวมไปถึงแนะนำแนวทางแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า และให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัว
จิตบำบัด: หรือที่เรียกว่าการบำบัดด้วยการพูดคุย ได้แก่ การให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว และการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (CBT)
การรักษาด้วยยา: แพทย์อาจจ่ายยาต้านอาการซึมเศร้า
ยา
ยาต้านอาการซึมเศร้า สามารถช่วยรักษาภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางถึงรุนแรงได้ มียาต้านอาการซึมเศร้าหลายประเภท:
● selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
● monoamine oxidase inhibitors (MAOIs)
● tricyclic antidepressants
● Typical antidepressants
● Atypical antidepressants
● selective serotonin และ norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs)
ยาแต่ละชนิดทำหน้าที่ควบคุมสารสื่อประสาทที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการปิดกั้นหรือการรวมกันของสารสื่อประสาท
ควรรับประทานยาเหล่านี้ตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ยาบางชนิดอาจใช้เวลาสักระยะถึงจะเห็นผล การหยุดยาก่อนอาจไม่ได้รับประโยชน์ที่จะควรจะได้รับจากยา
บางคนหยุดทานยาหลังจากอาการดีขึ้น อาจทำให้อาการกำเริบได้อีก
ถ้าต้องการหยุดใช้ยา ควรเล่าความกังวลเกี่ยวกับการใช้ยาหรือความตั้งใจที่จะหยุดยาให้แพทย์ฟัง ก่อนที่จะหยุดใช้ยา
ผลข้างเคียงของยาต้านโรคซึมเศร้า
ยา SSRIs และ SNRIs อาจมีผลข้างเคียง เช่น
● คลื่นไส้
● ท้องผูก
● ท้องเสีย
● น้ำตาลในเลือดต่ำ
● น้ำหนักลด
● ผื่นตามร่างกาย
● เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดให้ ผู้ผลิตยา เพิ่มคำเตือนในบรรจุภัณฑ์ของยาต้านอาการซึมเศร้า
คำเตือนควรระบุว่า ความเสี่ยงอื่นๆ ยาเหล่านี้อาจเพิ่มความคิดฆ่าตัวตายในเด็กวัยรุ่นและคนหนุ่มสาวบางคน ภายในสองถึงสามเดือนแรกของการรักษา
การรักษาด้วยยาสมุนไพร
บางคนใช้วิธีการรักษาแบบธรรมชาติ เช่น ยาสมุนไพรเพื่อรักษาอาการซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลาง
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ไม่ได้ตรวจสอบการรักษาด้วยสมุนไพรอย่างจริงจัง ผู้ผลิตจึงอาจอ้างคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือสรรพคุณเกินความจริง อาจไม่ปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพอย่างที่คิด
ต่อไปนี้เป็นสมุนไพรและพืชยอดนิยมบางชนิดที่ผู้คนใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้า
สาโทเซนต์จอห์น: ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการหรืออาจเป็นโรคไบโพลาร์ เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่นี่
โสม: แพทย์แผนโบราณอาจใช้โสมรักษาโรคซึมเศร้าโดยอ้างสรรพคุณในเรื่องการทำให้สมองโล่งและลดความเครียด
ดอกคาโมไมล์: มีส่วนประกอบของสารฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านอาการซึมเศร้า
ลาเวนเดอร์: อาจช่วยลดความวิตกกังวลและอาการนอนไม่หลับ เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่ เกี่ยวกับลาเวนเดอร์
หากต้องการทานยาสมุนไพรหรืออาหารเสริมเพื่อรักษาภาวะซึมเศร้า จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ สมุนไพรบางชนิดอาจรบกวนการออกฤทธิ์ของยาบางตัวหรือทำให้อาการแย่ลง
อาหารเสริม
อาจมีการใช้สมุนไพรข้างต้นเป็นอาหารเสริม เพื่อรักษาอาการของภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลาง อาหารเสริมประเภทอื่นๆ อาจช่วยรักษาอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน
สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้เสมอคือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไม่ได้ตรวจสอบถึงสรรพคุณหรือประโยชน์ของอาหารเสริมทุกชนิด ตรวจสอบเพียงบางชนิดเท่านั้น
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ใช่สมุนไพร ที่อาจช่วยรักษาภาวะซึมเศร้า ได้แก่
S-adenosyl methionine (SAMe): เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมา ให้เหมือนกับสารเคมีในร่างกาย
5-hydroxytryptophan: สารชนิดนี้อาจช่วยเพิ่มเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมองที่มีผลต่ออารมณ์ของมนุษย์
งานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่า SAMe อาจมีประโยชน์เช่นเดียวกับยาต้านซึมเศร้า imipramine และ escitalopram แต่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติม
เรียนรู้เพิ่มเติม ว่าสมุนไพรและอาหารเสริมอาจช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้อย่างไร
อาหารและการเลือกรับประทานอาหาร
การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง หรืออาหารแปรรูปต่างๆ อาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพร่างกายต่างๆ ผลการวิจัยปี 2019 ชี้ให้เห็นว่าอาหารที่มีลักษณะข้างต้น อาจส่งผลต่อ สุขภาพจิต ของคนหนุ่มสาว
การศึกษายังพบว่าการรับประทานอาหารต่อไปนี้มากขึ้น ช่วยลดอาการซึมเศร้า
● ผลไม้
● ผัก
● ปลา
● น้ำมันมะกอก
อาหารอื่นๆสามารถทำให้อาการซึมเศร้าแย่ลงได้เหมือนกัน สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในช่องทางอื่นๆ
จิตบำบัด (Psychotherapy)
จิตวิทยาหรือการพูดคุย เพื่อบำบัดสำหรับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม(CBT) จิตบำบัดระหว่างบุคคล และการบำบัดแก้ไขต้นเหตุของปัญหา เป็นต้น
สำหรับภาวะซึมเศร้าบางรูปแบบ จิตบำบัดมักเป็นการรักษาแรกที่จะได้รับ ในขณะที่บางคนตอบสนองต่อการใช้จิตบำบัดและยาร่วมกันได้ดีกว่า
การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม(CBT) และจิตบำบัดระหว่างบุคคล เป็นจิตบำบัดสองประเภทหลัก สำหรับภาวะซึมเศร้า การบำบัดอาจเกิดขึ้นผ่านทางโทรศัพท์หรือออนไลน์ก็ได้
การบำบัดระหว่างบุคคล มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถระบุ:
● ปัญหาทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์และการสื่อสาร
● ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่ออารมณ์ของพวกเขาอย่างไร
● ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ได้อย่างไรบ้าง
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายแบบแอโรบิคจะเพิ่มระดับเอนดอร์ฟิน และกระตุ้นนอร์เอพิเนฟริน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่เชื่อมโยงกับอารมณ์ วิธีนี้อาจช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้เล็กน้อย
การบำบัดด้วยการกระตุ้นสมอง (Brain stimulation therapies)
การบำบัดด้วยการกระตุ้นสมองเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษา ตัวอย่างเช่นการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กซ้ำๆ ( Repettitive transcanial magnetic ) โดยจะมีการส่งคลื่นแม่เหล็กไปยังสมอง อาจช่วยรักษาโรคซึมเศร้าได้
หากภาวะซึมเศร้าไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา ผู้ป่วยอาจตอบสนองต่อการบำบัดด้วยคลื่นไฟฟ้า การรักษานี้อาจได้ผล ในกรณีที่มีโรคจิตเวชเกิดขึ้นพร้อมกับภาวะซึมเศร้า
ประเภทของภาวะซึมเศร้า
มีหลายรูปแบบ ด้านล่างนี้คือประเภทที่พบบ่อยที่สุด
โรคซึมเศร้า (Major depressive )
ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะต้องเผชิญกับความเศร้าโศก อย่างต่อเนื่อง พวกเขาอาจสูญเสียความสนใจหรือมีความสุขน้อยลงกับกิจกรรมที่เคยชอบ
การรักษามักมีการใช้ยาและจิตบำบัด
โรคซึมเศร้าแบบต่อเนื่อง( Persistent depressive disorder )
หรือที่เรียกว่า dysthymia โรคซึมเศร้าแบบต่อเนื่องทำให้เกิดอาการอย่างน้อย 2 ปี
ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจมีอาการซึมเศร้าและอาการไม่รุนแรง
โรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว( Bipolar disorder )
อาการซึมเศร้าเป็นอาการทั่วไปของโรคอารมณ์สองขั้ว และการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ที่เป็นโรคนี้ครึ่งหนึ่งมีอาการของภาวะซึมเศร้า ทำให้โรคอารมณ์สองขั้วแยกออกจากภาวะซึมเศร้าได้ยากขึ้น
โรคจิตเวชซึมเศร้า( Psychotic depression)
บางคนมีอาการทางจิตเวชร่วมกับโรคซึมเศร้า
โรคจิตเวชอาจเกี่ยวข้องกับความหลงผิด เช่น มีความเชื่อผิดๆและการปลีกตัวออกจากโลกแห่งความเป็นจริง นอกจากนี้ยังสามารถพบอาการภาพหลอน หรือสัมผัสได้ในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression )
หลังจากคลอดบุตร ผู้หญิงหลายคนอาจเผชิญกับสิ่งที่บางคนเรียกว่า“ เบบี้บลูส์” (Baby blues) เมื่อระดับฮอร์โมนปรับตัวใหม่หลังการคลอดบุตร อาจส่งผลให้อารมณ์แปรปรวนได้
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน
ภาวะนี้ไม่ได้มีสาเหตุเดียว สำหรับภาวะซึมเศร้าประเภทนี้และอาจคงอยู่เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี ใครก็ตามที่มีอาการซึมเศร้าอย่างต่อเนื่องหลังคลอด ควรรีบไปพบแพทย์
โรคซึมเศร้าที่มีรูปแบบตามฤดูกาล( Major depressive disorder with seasonal pattern)
ก่อนหน้านี้เรียกว่า โรคอารมณ์ตามฤดูกาล ( Seasonal effective disorder ) หรือ SAD ภาวะซึมเศร้าประเภทนี้เกี่ยวข้องกับการลดลงของแสงแดดในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว และตอบสนองต่อการบำบัดด้วยแสง
ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีฤดูหนาวยาวนาน จะได้รับผลกระทบจากภาวะนี้มากกว่าที่อื่น
การวินิจฉัย
หากไครสงสัยว่าตนเองมีอาการซึมเศร้า ควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถแยกแยะสาเหตุต่างๆ ตรวจสอบการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และให้การรักษาที่ปลอดภัย ถูกต้องและมีประสิทธิภาพได้
แพทย์จะถามคำถามเกี่ยวกับอาการ เช่น อาการเป็นอยู่นานแค่ไหน แพทย์อาจทำการตรวจเพื่อตรวจหาสาเหตุทางกายภาพ และสั่งการตรวจเลือด เพื่อแยกภาวะสุขภาพอื่นๆด้วย
อะไรคือความแตกต่างระหว่าง ภาวะซึมเศร้าตามสถานการณ์ และทางคลินิก? หาคำตอบได้ที่นี่
การทดสอบ
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตมักจะขอให้กรอกแบบสอบถาม เพื่อช่วยประเมินความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า
การให้คะแนนแฮมิลตันสำหรับภาวะซึมเศร้า(The Hamilton Depression Rating Scale) จะมี 21คำถาม คะแนนจะเป็นตัวบ่งชี้ความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยที่มีการวินิจฉัยแล้ว
Beck Depression Inventory เป็น อีกหนึ่งแบบสอบถาม ที่ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต สามารถวัดอาการของแต่ละคนได้
สายด่วนปรึกษาโรคซึมเศร้า
สายด่วนแห่งชาติให้ความช่วยเหลือฟรีและเป็นความลับ จะได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรม ตลอด 24 ชั่วโมง มีประโยชน์ต่อทุกคน ที่เป็นโรคซึมเศร้าที่ต้องการปรึกษาหรือต้องการพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวเอง
สายด่วนสนับสนุนบางส่วนที่มีให้ ได้แก่
กรมสุขภาพจิตได้จัดให้มีบริการคลินิกคลายเครียด เพื่อแนะนำเทคนิคและวิธีการในการคลายเครียด ให้กับผู้รับบริการ หรือสามารถโทรขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง
การป้องกันการฆ่าตัวตาย (Suicide prevention)
● หากคุณรู้จักใครก็ตามที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง ฆ่าตัวตายหรือทำร้ายผู้อื่น ให้โทร 191 หรือหมายเลขฉุกเฉินในพื้นที่ ทันที
● อยู่กับเขา จนกว่าความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าหน้าที่จะมาถึง
● นำอาวุธ ยา หรือวัตถุอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตรายออก
● รับฟังเขา โดยไม่วิจารณ์
● หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักกำลังคิดฆ่าตัวตาย สามารถโทรขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง
โรคซึมเศร้าเป็นพันธุกรรมหรือไม่?
คนที่มีพ่อแม่ หรือพี่น้อง เป็นโรคซึมเศร้า มีโอกาสเกิดภาวะนี้ สองถึงสามเท่า มากกว่าคนทั่วไป
อย่างไรก็ตามหลายคนที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้
ผลการศึกษาล่าสุด ชี้ให้เห็นว่าความอ่อนแอต่อภาวะซึมเศร้าอาจไม่ได้เป็นผลมาจากพันธุกรรม นักวิจัยยอมรับว่าแม้ภาวะซึมเศร้าสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่ประเด็นอื่นๆ ก็มีผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน
รักษาได้หรือไม่?
แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาที่หายขาดในภาวะซึมเศร้า แต่ก็มีการรักษาหลายอย่างที่มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ การรักษาเริ่มต้นเร็ว อาจทำให้อาการดีขึ้นเร็วด้วย
หลายคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอาการดีขึ้น หลังจากทำตามแผนการรักษา แม้จะได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ แต่อาการก็สามารถกำเริบขึ้นได้
เพื่อป้องกันการกำเริบของโรค ผู้ที่ใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าควรทานยาให้ต่อเนื่อง แม้ว่าอาการจะดีขึ้น หรืออาการหายไปก็ตาม ตราบใดที่แพทย์แนะนำให้ทานต่อ
ตัวกระตุ้น
ตัวกระตุ้น คือเหตุการณ์ทางอารมณ์ จิตใจ หรือร่างกาย หรือสถานการณ์ ที่อาจทำให้อาการซึมเศร้าปรากฏขึ้นอีกหรือกลับมาอีก
ตัวกระตุ้นที่พบบ่อย เช่น
● เหตุการณ์ในชีวิตที่มีความตึงเครียด เช่น การสูญเสีย ความขัดแย้งในครอบครัวและการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์
● การรักษาไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีการหยุดการรักษาเร็วเกินไป
● โรคในทางการแพทย์เช่นโรคอ้วน, โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยง
บางคนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนอื่นๆ
ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
● ประสบกับเหตุการณ์ในชีวิตบางอย่าง เช่นการสูญเสีย ปัญหาในการทำงาน การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ ปัญหาทางการเงิน และความกังวลกับโรคที่เป็นอยู่
● มีความเครียดเฉียบพลัน
● ขาดความความสำเร็จในการทำสิ่งต่างๆ
● มีคนสนิทที่เป็นโรคซึมเศร้า
● การใช้ยาตามแพทย์สั่ง เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน(corticosteroids) ยาลดความดันโลหิตเบต้าบล๊อกเกอร์( beta-blockers ) และอินเตอร์เฟอรอน (interferon)
● การใช้สารต่างๆ เช่น แอลกอฮอล์ หรือยาบ้า
● ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างต่อเนื่อง
● เคยเป็นโรคซึมเศร้าก่อนหน้านี้
● มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด
● ทนทุกข์อยู่กับความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่อง
สถิติ
จากการอ้างอิงตัวเลขสถิติของกรมสุขภาพจิต ได้มีรายงานถึงตัวเลขของจำนวนผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตายในปี 2561 สำเร็จเป็นจำนวน 4,137 ราย โดยเฉลี่ยช่วงอายุ 25-59 ปี จำนวน 11.5 ราย ต่อวัน โดยมีสาเหตุจากภาวะซึมเศร้าโดยตรง 6.54%
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
● https://www.nimh.nih.gov/health/topics/depression/index.shtml
● https://www.webmd.com/depression/default.htm
● https://www.nhs.uk/conditions/clinical-depression/