ประเภทของโรคโรคซึมเศร้า

โดยปกติภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้บางช่วงเวลา ถ้าหากคุณรู้สึกเศร้ามากกว่าปกติและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คุณอาจกำลังเป็นโรคซึมเศร้า ทั้งนี้เราสามารถรักษาโรคด้วยการใช้ยา การเข้ารับคำปรึกษาและเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิต

โรคซึมเศร้ามีหลายประเภทแตกต่างกัน เหตุการณ์ในชีวิตของคุณอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน รวมถึงสารเคมีในสมองเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือสาเหตุอื่นๆ หรือบางครั้งอาจจะเป็นโรคซึมเศร้าในช่วงวัยอายุ เช่นโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นอาจพบได้ในเด็กที่ครอบครัวมีปัญหา หรือโรคซึมเศร้าในคนวัยชราเนื่องจากอยู่ห่างไกลจากลูกหลานก็เป็นได้

ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ขั้นตอนแรกแพทย์จำเป็นต้องทราบว่าคุณกำลังรู้สึกอย่างไร แพทย์อาจแนะนำให้คุณไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวินิจฉัยว่าคุณมีภาวะซึมเศร้าประเภทใด ซึ่งการวินิจฉัยนี้สำคัญต่อการตัดสินใจเลือกวิธีรักษาที่เหมาะกับคุณ

สาเหตุของโรคซึมเศร้าและประเภท

โรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง (Major Depression)

 

เราอาจเคยได้ยินคุณหมอพูดชื่อโรคซึมเศร้า คุณอาจเคยประสบกับภาวะดังกล่าว หากคุณรู้สึกหดหู่เกือบตลอดเวลาเกือบทั้งสัปดาห์

อาการอื่นที่อาจเกิดขึ้นได้แก่:

●    ไม่มีความสนใจหรือไม่ต้องการทำกิจกรรมต่างๆ

●    น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้น

●    มีปัญหาเกิดกับการนอนหลับหรือง่วงนอนตลอดทั้งวัน

●    รู้สึกกระวนกระวายและตื่นเต้นหรือขี้เกียจและเฉื่อยชา โดยเป็นอาการที่แสดงออกทั้งร่างกายและสภาวะจิตใจ

●    รู้สึกเหนื่อยและหมดแรง

●    รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิด

●    มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้สมาธิหรือการตัดสินใจ

●    มีความคิดถึงเรื่องฆ่าตัวตาย

แพทย์จะวินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้า หากคุณมีอาการเหล่านี้ 5 อย่างหรือมากกว่าเป็นระยะเวลาเกือบทั้งวันหรือ 2 สัปดาห์ขึ้นไป

หากมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอย่างต้องเป็นอาการหดหู่หรือไม่สนใจทำกิจกรรมใดๆ

การเข้ารับคำปรึกษาจากนักบำบัดสามารถช่วยได้ คุณสามารถไปพบจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่จะช่วยให้คุณหาวิธีการจัดการกับภาวะซึมเศร้าของคุณ นอกจากนี้การใช้ยาต้านซึมเศร้าสามารถช่วยได้เช่นกัน

เมื่อการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล มีทางเลือกอื่นๆได้แก่

●    การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า (ECT)

●    การกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็ก(TMS)

●    การกระตุ้นการทํางานของระบบประสาท (VNS)

วิธี ECT เป็นรักษาด้วยกระแสไฟฟ้ากระตุ้นสมอง ส่วนวิธี TMS เป็นการรักษาด้วยแม่เหล็กชนิดพิเศษและวิธี VNS เป็นการผ่าตัดปลูกฝังอุปกรณ์พิเศษ โดยวิธีการรักษาทุกประเภทถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองบางส่วน เพื่อช่วยทำให้สมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ทำงานดีขึ้น

โรคซึมเศร้าชนิดเรื้อรัง

ถ้าหากคุณมีอาการซึมเศร้ามากกว่า 2 ปีขึ้นไปจะเรียกว่าภาวะซึมเศร้าเรื้อรังเป็นคำศัพท์ที่ใช้อธิบาย

โรค 2  ประเภทที่เรียกว่า โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย และโรคซึมเศร้าชนิดรุนเเรง

อาจมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ได้แก่

● ความอยากอาหารเปลี่ยนไป (ทานอาหารน้อยลงหรือมากเกินไป)

●    นอนหลับมากหรือน้อยเกินไป

●    ไม่มีแรงหรือเหนื่อยล้า

●    ความภูมิใจในตัวเองต่ำ

●    มีปัญหาด้านการใช้สมาธิหรือตัดสินใจ

●    รู้สึกสิ้นหวัง

โรคซึมเศร้าประเภทนี้สามารถรักษาด้วยการบำบัดจิต การใช้ยาหรือใช้วิธีทั้งสองอย่างควบคู่กัน

 

โรคไบโพลาร์

บางคนอาจเป็นโรคไบโพลาร์หรือบางครั้งเรียกว่า “Manic depression” เป็นโรคมีลักษณะอารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรน โดยมีช่วงอารมณ์ดีมากไปจนถึงเศร้ามาสลับกัน

หากกำลังอยู่ในภาวะอารมณ์ที่หดหู่หมายความว่ากำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้า

การใช้ยาสามารถช่วยปรับภาวะอารมณ์ที่แปรปรวนเพื่อให้สามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นในช่วงอารมณ์ดีหรือหดหู่ก็ตาม แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาปรับสมดุลอารมณ์อย่างเช่น ยา lithium เป็นต้น

ยาที่ผ่านการรับรองจากองค์กร FDA สำหรับใช้รักษาภาวะซึมเศร้าได้แก่

●    ยา Seroquel

●    ยา Latuda

●    ยา Olanzapine-fluoxetine

บางครั้งแพทย์อาจสั่งยานอกข้อบ่งใช้ให้กับผู้ที่มีอาการไบโพลาร์เช่น ยากันชักหรือยาต้านอาการทางจิต

โดยปกติแพทย์ไม่แนะนำให้ใช้ยาต้านอาการซึมเศร้าเป็นการรักษาโรคไบโพลาร์ขั้นเริ่มต้นเสมอไป เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่ายาต้านซึมเศร้าช่วยรักษาได้ดีกว่ายาหลอก (ก้อนน้ำตาล)

นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีอาการไบโพลาร์ไม่รุนแรง บางครั้งยาต้านซึมเศร้าอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดช่วงอารมณ์พลุกพล่านได้หรือเพิ่มอัตราของการเกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนในแต่ช่วงให้เร็วขึ้น

สำหรับการบำบัดจิตจำเป็นอาศัยความช่วยเหลือจากครอบครัวด้วยเช่นกัน

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (SAD)

หมายถึงภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นตามช่วงฤดูกาล ส่วนใหญ่มักเกิดในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่ระยะเวลากลางวันสั้นกว่ากลางคืนทำให้คุณอาจได้สัมผัสกับแสงแดดน้อยลง โดยปกติแล้วภาวะซึมเศร้าจะหายไปเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อน

ถ้าหากคุณมีอาการซึมเศร้าตามฤดูกาล ยาต้านซึมเศร้าสามารถช่วยได้ นอกจากนี้สามารถใช้แสงแดดบำบัดได้เช่นกัน โดยคุณสามารถนั่งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงตัวเป็นเวลา 15-30 นาทีต่อวัน

โรคซึมเศร้าชนิดวิกลจริต

ผู้ที่มีอาการทางจิตที่ผิดปกติจะมีอาการของโรคซึมเศร้าร่วมกับอาการ “วิกลจริต” ซึ่งได้แก่

●    เห็นภาพหลอน (มองเห็นภาพของสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง)

●    อาการหลงผิด (มีความเชื่อที่ผิด)

●    โรคจิตหวาดระแวง  (มีความเชื่อที่ผิดว่าผู้อื่นจะทำร้ายตนเอง)

การรักษาด้วยยาต้านอาการซึมเศร้าและยาต้านอาการทางจิตสามารถช่วยรักษาโรคซึมเศร้าชนิดนี้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้า (ECT) ได้เช่นกัน

 ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตร (Postpartum)

ผู้หญิงที่คลอดบุตรจะมีอาการซึมเศร้าในช่วงหลายสัปดาห์และเดือนหลังจากคลอดบุตร แพทย์แนะนำให้ใช้ยาต้านซึมเศร้าที่ช่วยรักษาอาการซึมเศร้าหลังคลอด

กลุ่มอาการซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน (PMDD)

ผู้หญิงที่มีอาการหดหู่ก่อนมีประจำเดือนและช่วงเริ่มมีประจำเดือน

นอกจากอารมณ์ซึมเศร้าแล้ว คุณอาจมีอาการเล่านี้ร่วมด้วยได้แก่

●    อารมณ์แปรปรวน

●    หงุดหงิด

●    วิตกกังวล

●    มีปัญหากับการใช้สมาธิ

●    เหนื่อยล้าหมดแรง

●    มีพฤติกรรมการทานอาหารหรือนอนหลับที่ผิดปกติ

●    รู้สึกหดหู่มากเกินไป

ยาต้านซึมเศร้าหรือยาคุมกำเนิดสามารถใช้รักษาภาวะซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือนเช่นกัน

ภาวะซึมเศร้าเนื่องจากสถานการณ์ร้ายแรงเป็นตัวกระตุ้น

คำศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่าอาการจิตเวช ผู้ที่มีอาการนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้า เมื่อคุณมีปัญหากับการจัดการอารมณ์ในขณะที่ประสบกับเหตุการ์ตึงเครียดในชีวิตเช่น การเสียชีวิตของสมาชิกในครอบครัว หย่าร้างหรือตกงาน แพทย์อาจเรียกว่า “การตอบสนองต่อความเครียดทางสรีรวิทยา”

การรักษาฟื้นฟูสุขภาพจิตช่วงบำบัดจิตในช่วงที่มีอารมณ์หดหู่ช่วยรักษาสภาวะอารมณ์ในสถานการณ์ตึงเครียดให้ดีขึ้น

อาการซึมเศร้าผิดปกติ

ภาวะซึมเศร้าประเภทนี้แตกต่างจากภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง หากมีอาการซึมเศร้าประเภทนี้ การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีสามารถช่วยรักษาได้

อาการอื่นๆได้แก่

●    มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น

●    นอนหลับมากกว่าปกติ

●    รู้สึกแขนหรือขาหนัก

●    อ่อนไหวต่อคำวิจารณ์

สำหรับการรักษายาต้านซึมเศร้าสามารถช่วยได้เช่นกัน นอกจากนี้แพทย์ยังแนะนำให้ใช้ยากลุ่ม SSRI สำหรับการรักษาในระยะแรก

บางครั้งแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาต้านซึมเศร้าชนิดที่เก่ากว่ามีชื่อเรียกว่า MAOI เป็นยาต้านซึมเศร้าที่มีการศึกษาวิจัยพิสูจน์ว่าช่วยรักษาภาวะซึมเศร้าชนิดนี้ได้

วิธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเองง่าย ๆ

มีหลากหลายวิธีที่สามารถรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเองง่าย ๆ หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงมาก โดยวิธีเหล่านั้นมีดังนี้

● นั่งสมาธิ

●  หางานอดิเรกที่ชอบทำ

●  ท่องเที่ยวเพื่อค้นพบสิ่งใหม่ ๆ

●  ออกกำลังกาย

●  ปรึกษากับเพื่อนที่ไว้ใจได้ถึงเรื่องต่าง ๆ

●  หรือเข้ารับการบำบัดโดยจิตแพทย์

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.nimh.nih.gov/health/topics/depression/index.shtml

●     https://www.webmd.com/depression/default.htm

●     https://www.nhs.uk/conditions/clinical-depression/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *