การรักษาโรคซึมเศร้า

การบำบัด  การทานยา  การช่วยเหลือตัวเอง หากคุณสับสนกับทางเลือกในการรักษาโรคซึมเศร้าที่มีความแตกต่างกัน  เราได้รวบรวม วิธีการตัดสินใจในเลือกแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับคุณในการรักษาโรคซึมเศร้า

ค้นหาวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

เมื่อคุณรู้สึกหดหู่ คุณจะรู้สึกเหมือนว่าคุณจะไม่สามารถหลุดพ้นออกไปจากความรู้สึกนี้ได้ อย่างไรก็ตามแม้แต่ภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงที่สุดก็สามารถรักษาได้ ดังนั้นหากโรคซึมเศร้าของคุณจะส่งผลให้คุณไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างที่ต้องการ อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ ตั้งแต่การบำบัดไปจนถึงการรักษาด้วยยาไปจนถึงการเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดี และมีทางเลือกในการรักษาที่แตกต่างหลากหลายออกไปมากมาย

แน่นอนว่า ไม่มีคนสองคนที่ได้รับผลกระทบจากโรคซึมเศร้าในลักษณะเดียวกัน ไม่มีการรักษาแบบเดียวกันที่จะเหมาะกับทุกคนในการรักษาโรคซึมเศร้า สิ่งที่ได้ผลกับคนหนึ่งอาจไม่ได้ผลสำหรับคนอื่น ในไม่ช้า คุณจะพบการรักษาที่สามารถช่วยให้คุณเอาชนะโรคซึมเศร้าได้ รู้สึกมีความสุขและมีความหวังอีกครั้ง และเรียกคืนชีวิตของคุณกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

เคล็ดลับการรักษาโรคซึมเศร้า

 

ศึกษาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามากเท่าที่จะเป็นไปได้

สิ่งสำคัญคือต้องประเมินอาการซึมเศร้าของคุณว่าเกิดจากสภาวะทางการแพทย์หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นควรเข้ารับการรักษาก่อน ความรุนแรงของโรคซึมเศร้าของคุณก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเช่นกัน ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่าไหร่คุณก็จะต้องได้รับการรักษาที่เข้มข้นมากขึ้นเท่านั้น

อาจต้องใช้เวลาในการค้นหาการรักษาอาการซึมเศร้าที่เหมาะสม

มันอาจต้องใช้วิธีลองผิดลองถูกในการค้นหาวิธีการรักษาและการสนับสนุนที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ตัวอย่างเช่น หากคุณตัดสินใจที่จะเข้ารับการบำบัดอาจต้องใช้ความพยายามสองถึงสามครั้งเพื่อค้นหานักบำบัดที่เข้ากับคุณได้ หรืออาจลองใช้ยาต้านเศร้า ซึ่งเป็นทางเดียวที่คุณไม่จะเป็นต้องใช้มันหากคุณเดินเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงทุกวัน เปิดโอกาสในการเปลี่ยนแปลงและเพื่อการทดลองเพียงเล็กน้อย

อย่าพึ่งยาเพียงอย่างเดียว

แม้ว่ายาจะสามารถบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ แต่ก็ไม่เหมาะสำหรับการใช้ในระยะยาว การรักษาอื่นๆ เช่น การออกกำลังกายและการบำบัดอาจได้ผลเช่นเดียวกับการใช้ยา แต่ไม่ได้มีผลข้างเคียงเช่นการใช้ยา ซึ่งหากคุณตัดสินใจที่จะลองใช้ยาให้จำไว้ว่ายาจะออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดเมื่อคุณเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้มีสุขภาพดีด้วยเช่นกัน

เข้ารับการสนับสนุนทางสังคม

ยิ่งคุณมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากเท่าไหร่ คุณก็จะได้รับการปกป้องจากอาการของโรคซึมเศร้ามากขึ้นเท่านั้น หากยังลังเลที่จะพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนที่คุณไว้ใจ หรือค้นหากลุ่มสัมพันธ์ใหม่ๆที่สนับสนุนภาวะซึมเศร้าเป็นต้น การขอความช่วยเหลือไม่ได้แสดงถึงความอ่อนแอและไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นภาระของผู้อื่น บ่อยครั้งการพูดคุยกับใครบางคนแบบเห็นหน้ากันอย่างเรียบง่ายอาจช่วยได้มาก

การรักษาต้องใช้เวลาและความมุ่งมั่น

การรักษาภาวะซึมเศร้าทั้งหมดต้องใช้เวลาและบางครั้งอาจรู้สึกหนักใจหรือช้าจนน่าหงุดหงิด นั่นเป็นเรื่องปกติ การฟื้นตัวมักจะมีขึ้นมีลง

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต: ส่วนสำคัญของการรักษาโรคซึมเศร้า

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังในการรักษาโรคซึมเศร้า บางครั้งอาจเป็นทั้งหมดที่คุณต้องการ แม้ว่าคุณจะต้องการการรักษาอื่นๆเช่นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้ถูกต้องสามารถช่วยอาการซึมเศร้าให้ดีเร็วขึ้น และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีก

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพื่อรักษาอาการซึมเศร้า

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถรักษาอาการซึมเศร้าได้พอๆกับการใช้ยา ซึ่งไม่เพียงช่วยเพิ่มสารซีโรโทนิน, เอนดอร์ฟิน และสารเคมีในสมองอื่นๆที่ทำให้รู้สึกดีเท่านั้น แต่ยังกระตุ้นการเติบโตของเซลล์สมองใหม่และเกิดการเชื่อมต่อเช่นเดียวกับยาต้านเศร้า เหนือสิ่งอื่นใดคุณไม่จำเป็นถึงขั้นต้องฝึกวิ่งมาราธอนเพื่อประโยชน์ที่จะเกิดกับร่างกาย เพียงแค่การเดินวันละครึ่งชั่วโมงก็สามารถสร้างความแตกต่างได้มากเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด โดยเป้าหมายคือ การทำกิจกรรมแอโรบิคเป็นเวลา 30-60 นาทีต่อวัน

การสนับสนุนทางสังคม

การมีเครือข่ายทางสังคมที่แข็งแกร่งจะช่วยลดความโดดเดี่ยวลง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของโรคซึมเศร้า การที่ยังคงติดต่อกับเพื่อนและครอบครัว หรือการเข้าร่วมชั้นเรียนหรือกลุ่ม การเป็นอาสาสมัครเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ยอดเยี่ยม การเข้ารับการสนับสนุนทางสังคมและยังได้ช่วยเหลือผู้อื่นในขณะเดียวกันก็ได้ช่วยเยียวยาตัวเองไปในตัว

โภชนาการ

การรับประทานอาหารที่ดีเป็นสิ่งสำคัญต่อทั้งร่างกายและจิตใจ รับประทานเป็นมื้อเล็กๆ เลือกรับประทานอาหารอย่างสมดุลตลอดวัน จะช่วยให้คุณมีพลังงานเพิ่มขึ้นและลดการแปรปรวนทางอารมณ์ ขณะที่คุณอาจสนใจของหวานเพื่อเพิ่มพลังงานอย่างรวดเร็ว แต่คาร์โบไฮเดตรเชิงซ้อนเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะมันจะให้พลังงานโดยไม่เกิดปัญหาเรื่องนำ้ตาลในอนาคต

การนอนหลับ

การนอนหลับส่งผลต่ออารมณ์อย่างมาก เมื่อคุณนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อาการซึมเศร้าของคุณจะแย่ลง การอดนอนจะทำให้เกิดอาการหงุดหงิด  ฉุนเฉียว  เศร้าหมอง และอ่อนเพลีย ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณนอนหลับอย่างเพียงพอในแต่ละคืน มีไม่กี่คนที่นอนหลับ 7 ชม.ต่อวัน ฉะนั้นควรตั้งเป้าการนอนหลับไว้ที่ 7-9 ชม.ต่อวัน

การคลายเครียด

การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับชีวิตของเราจะช่วยจัดการและคลายความเครียดได้ การที่เครียดมากเกินไปทำให้อาการซึมเศร้ารุนแรงขึ้นและทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าในอนาคต การกลับมามองชีวิตว่าอะไรที่ทำให้เกิดความเครียด เช่น งานหนักเกินไป หรือการไม่ได้รับการสนับสนุนทางสังคม ควรหาวิธีในการลดผลกระทบของมันให้น้อยที่สุด

การพิจารณาสาเหตุทางการแพทย์ของภาวะซึมเศร้า

Iหากคุณสงสัยว่าคุณอาจเป็นโรคซึมเศร้าและการเปลี่ยนแลวิถีชีวิตไม่ได้ผล คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด หากอาการซึมเศร้าของคุณเป็นผลมาจากสาเหตุทางการแพทย์ การบำบัดและยาต้านเศร้าดูเหมือนจะช่วยได้เพียงเล็กน้อย ภาวะซึมเศร้าจะไม่เป็นมากขึ้นจนกว่าจะมีการระบุและรักษาที่สาเหตุของปัญหาสุขภาพ

แพทย์จะทำการตรวจภาวะร่างกายและภาวะที่คล้ายกับภาวะซึมเศร้า และสร้างความมั่นใจว่าคุณจะไม่ใช้ยาที่อาจทำให้เกิดภาวะศึมเศร้าซึ่งเป็นผลข้างเคียง เงื่อนใขทางการแพทย์และยาสามารถเป็นเหตุให้เกิดอาการซึมเศร้า, อ่อนเพลีย และเกิดภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือไทรอยด์ไม่ทำงาน ซึ่งเป็นตัวควรคุมอารมณ์ โดยในแต่ละวันมีความเสี่ยงต่อปฏิกิริยาต่อกันของยา ที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า ยิ่งทานยามากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น

จิตบำบัดสำหรับการรักษาอาการของโรคซึมเศร้า

หากอาการของโรคซึมเศร้าไม่ได้มีสาเหตุมาจากสาเหตุทางการแพทย์ การบำบัดด้วยการพูดคุยก็เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้จากการบำบัดดังกล่าวจะช่วยให้คุณมีทักษะและทำให้รู้สึกดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้อาการซึมเศร้ากลับมาเป็นอีก

มีการบำบัดอยู่หลายประเภท แต่มี 3 วิธีด้วยกันที่มักใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า ได้แก่ การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy), จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal therapy) และ การบำบัดทางจิต (Psychodynamic therapy) บ่อยครั้งก็มีการผสมผสานหลายๆวิธีเ้ขาด้วยกันในการรักษา

การบำบัดบางประเภทจะสอนเทคนิคที่ใช้ได้จริงเกี่ยวกับการปรับกรอบความคิดเชิงลบและใช้ทักษะทางพฤติกรรมในการต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า การบำบัดยังช่วยให้คุณเข้าใจความรู้สึกของตัวเองมากขึ้น

การบำบัดและ “ภาพรวม”ในการรักษาภาวะซึมเศร้า

จุดเด่นอย่างหนึ่งของโรคซึมเศร้าคือ ความรู้สึกหนักใจและมีปัญหาในการโฟกัส ซึ่งการบำบัดจะช่วยให้คุณย้อนกลับไปดูว่าอะไรที่อาจส่งผลต่อโรคซึมเศร้าและคุณจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร นี่คือะธีม “ภาพรวม” บางส่วนที่การบำบัดสามารถช่วยได้:

ความสัมพันธ์

การทำความเข้ารูปแบบของความสัมพันธ์ การสร้างความสัมพันธ์ และการปรับปรุงความสัมพันธ์จะช่วยลดการแยกตัวและสร้างการสนับสนุนทางสังคมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคซึมเศร้า

การกำหนดขอบเขตของภาวะสุขภาพ

หากคุณมีความเครียดและหนักใจ โดยไม่สามารถปฏิเสธได้ คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น การกำหนดขอบเขตภาวะสุขภาพในความสัมพันธ์และในที่ทำงานสามารถช่วยบรรเทาความเครียดและการบำบัดสามารถช่วยให้คุณระบุและตรวจสอบขอบเขตที่เหมาะสมกับคุณได้

การจัดการกับปัญหาชีวิต

การได้พูดคุยกับนักบำบัดที่เชื่อถือได้ จะสามารถให้การตอบกลับที่ดีไปในทางบวกเกี่ยวกับปัญหาชีวิต

การบำบัดรายบุคคลหรือกลุ่ม

เมื่อคุณได้ยินคำว่า “บำบัด” คุณอาจคิดโดยอัตโนมัติว่าเป็นการบำบัดแบบตัวต่อตัวกับนักบำบัด อย่างไรก็ตาม กลุ่มบำบัดมีประโยชน์อย่างมากในการรักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งการบำบัดทั้งสองแบบที่กล่าวมาทั้งแบบกลุ่มและแบบรายบุคคลมักใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง โดยแต่ละแบบก็มีประโยชน์ที่ต่างกันออกไป เช่น การบำบัดรายบุคคล คุณจะสร้างความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับคนหนึ่งคน จะรู้สึกสบายใจที่จะในการเผยแพร่ข้อมูลที่อ่อนไหวร่วมกับคนเพียงหนึ่งคนมากกว่าแบบกลุ่ม อีกทั้งคุณยังได้รับความสนใจเป็นรายบุคคล

ในการบำบัดแบบกลุ่ม การรับฟังเพื่อนในกลุ่มบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ต่างๆ สามารถช่วยสร้างความภูมิใจต่อตัวเองได้ บ่อยครั้งที่สามาชิกภายในกลุ่มมีจุดที่แตกต่างกันเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า ดังนั้นคุณอาจจะได้รับคำแนะนำจากคนที่ประสบปัญหาหรือเคยทำงานผ่านปัญหาที่ท้าทายมาก เช่นเดียวกับการเสนอแรงบันดาลใจและความคิด การเข้าร่วมกลุ่มบำบัดสามารถช่วยเพิ่มกิจกรรมทางสังคมและสร้างเครือข่ายทางสังคม

เมื่อการบำบัดยากขึ้น…

เช่นเดียวกับการปรับปรุงบ้านเรือน เมื่อคุณแยกส่วนต่างๆที่ไม่ได้มีผลกับชีวิตของคุณออกไป มันมักจะทำให้รู้สึกแย่ก่อนที่จะรู้สึกดีขึ้น เช่นเดียวกันเมื่อการบำบัดดูยากขึ้นหรือเจ็บปวด อย่าพึ่งยอมแพ้ หากคุณพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกและมีปฏิกิริยาต่อนักบำบัด มันจะช่วยให้คุณก้าวไปข้างหน้ามากกว่าที่จะถอยกลับไปหาวิธีเก่าๆที่ได้ผลน้อย อย่างไรก็ตาม หากการติดต่อกับนักบำบัดของคุณเริ่มรู้สึกว่าถูกบังคับหรือไม่สบายใจ อย่ากลัวที่จะเสาะหาทางเลือกอื่นในหารบำบัด ความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันอย่างแน่นแฟ้นเป็นรากฐานของการบำบัดที่ดี

การหานักบำบัด

สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกนักบำบัดคือความสัมพันธ์ของคุณกับบุคคลนี้ นักบำบัดที่เหมาะสมควรเอาใจใส่และให้การสนับสนุนในการรักษาและฟื้นฟูภาวะซึมเศร้าของคุณ

มีหลายวิธีในการหานักบำบัด:

● การบอกแบบปากต่อปาก เป็นวิธีหนึ่งที่ดีที่สุดในการค้นหานักบำบัดที่ดี เพื่อนและครอบครัวของคุณอาจมีความคิดบางอย่างหรือแพทย์ที่ดูแลหลักของคุณอาจสามารถส่งต่อได้

●     องค์ด้านสุขภาพจิตแห่งชาติสามารถช่วยแนะนำรายชื่อผู้ให้บริการที่มีใบอนุญาต

●     หากมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ให้ตรวจสอบศูนย์ผู้อาวุโสในท้องถิ่นองค์กรทางศาสนาและคลินิกสุขภาพจิตในชุมชน เพราะสถานที่ดังกล่าวมักเสนอการบำบัดแบบเลื่อนการชำระได้

ยาสำหรับโรคซึมเศร้า

ยารักษาโรคซึมเศร้าอาจเป็นวิธีการรักษาโรคที่มีการโฆษณามากที่สุด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลดีที่สุด เพราะอาการซึมเศร้าไม่ใช่แค่ความไม่สมดุลของสารเคมีภายในสมองเท่านั้น ยาอาจช่วยบรรเทาอาการบางอย่างของภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลางและรุนแรงได้ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานได้และมักไม่ใช่วิธีนี้ในการแก้ไขปัญหาระยะยาว ยาต้านเศร้ายังมาพร้อมกับผลข้างเคียงและข้อกังวลด้านความผลอดภัย และการถอนยาอาจเป็นเรื่องยากมาก หากคุณกำลังพิจารณาว่ายาต้านเศร้าจะเหมาะกับคุณหรือไม่ การเรียนรู้ข้อเท็จจริงจะสามารถช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูล

แม้ว่าหากคุณตัดสินใจที่จะใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า อย่าเพิเฉยต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการบำบัดไม่เพียงแต่จะช่วยให้ฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้าเร็วขึ้นแล้ว แต่ยังให้ทักษะในการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีกด้วย

การบำบัดแบบ TMS สำหรับโรคซึมเศร้า

หากคุณเป็นโรคซึมเศร้าที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยา, การบำบัด และกาเข้ากลุ่มช่วยเหลือ มีการบำบัด TMS อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง การบำบัดด้วยการกระตุ้นแม่เหล็ก (Transcranial magnetic stimulation :TMS) เป็นการรักษาแบบที่ไม่รุกล้ำ โดยจะนำคลื่นพลังงานแม่เหล็กที่เกิดขึ้นประจำไปยังบริเวณต่างๆของสมองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ซึ่งคลื่นแม่เหล็กนี้ส่งผ่านกะโหลกศีรษะอย่างไม่ลำบากและกระตุ้นเซลล์สมองซึ่งสามารถปรับปรุงการสื่อสารระหว่างส่วนต่างๆของสมองแบะบรรเทาอาหารซึมเศร้า

แม้ว่า TMS อาจสามารถปรับปรุงภาวะซึมเศร้าที่ดื้อต่อการรักษาได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นการรักษาภาวะซึมเศร้าหรือป้องกันไม่ได้อาการกลับมาเป็นซ้ำอีก อย่างไรก็ตามสามารถเพิ่มพลังงานและแรงผลักดันของคุณได้อย่างเพียงพอเพื่อให้เริ่มการพูดคุยบำบัดหรือการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่นการปรับปรุงอาหาร, การออกกำลังกาย และการสร้างเครือข่ายทางสังคม ซึ่งจะช่วยเพิ่มรักษาอาการซึมเศร้าให้ฟื้นตัว

การรักษาทางเลือก และวิธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเอง

การแพทย์ทางเลือกสำหรับภาวะซึมเศร้า อาจรวมไปถึงวิตามินต่างๆและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, การฝังเข็ม และเทคนิกการผ่อนคลายต่างๆ เช่น การนั่งสมาธิ  โยคะ หรือ ไทชิ

วิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับโรคซึมเศร้า

จากการวิจัยพบว่าการรักษาด้วยยาสมุนไพร  วิตามิน หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าจะทำงานได้ดีเพียงใด ซึ่งมีขายทั่วไปตามร้านขายยา กรณีนี้ประสิทธิภาพยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ หากอาการซึมเศร้าส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะขาดสารอาหาร คุณอาจได้รับอาหารเสริม วิตามิน แต่ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

หากคุณตัดสินใจที่จะลองผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มาจากธรรมชาติและสมุนไพร จำไว้ว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงและปฏิกิริยาต่อกันของยาหรืออาหาร ตัวอย่างเช่น St. John’s Wort เป็นสนุนไพรที่มีแนวโน้มจะใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลางอาจรบกวนยาที่สั่งโดยแพทย์ เช่น ยาคุมกำเนิด และยาต้านเศร้าที่สั่งโดยแพทย์ ตรวจสอบเพื่อความมั่นใจว่าแพทย์หรือนักบำบัดทราบว่าคุณกำลังรับประทานอะไรบ้าง

การรักษาทางเลือกอื่นๆ

เทคนิคการผ่อนคลาย จะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า ซึ่งเทคนิคดังกล่าวอาจช่วยลดความเครียดและรู้สึกสนุกไปด้วย เช่น ลองเล่นโยคะ  การฝึกหายใจลึกๆ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือการนั่งสมาธิ

การฝังเข็ม การฝังเข็มเป็นเทคนิคการใช้เข็มขนาดเล็กฝังลงไปในจุดเฉพาะ บนร่างกายเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แต่กำลังได้รับการตรวจสอบมากขึ้นว่าเป็นการรักษาภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ โดยมีงานวิจัยบางชิ้นที่เป็นไปได้ หากคุณตัดสินใจที่จะลองฝังเข็มควรตรวจสอบให้ดีก่อน แน่ใจว่าผู้ประกอบการมีใบอนุญาต

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.nimh.nih.gov/health/topics/depression/index.shtml

●     https://www.webmd.com/depression/default.htm

●     https://www.nhs.uk/conditions/clinical-depression/

อาการทางกายของโรคซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้ากับความเจ็บปวดทางร่างกายไม่ได้เชื่อมโยงกันบ่อยนัก แต่มีการวิจัยพบว่าความเจ็บป่วยทางจิตนี้สามารถสร้างความเจ็บปวดทางกายภาพได้

ในขณะที่มีความเจ็บปวดจากการซึมเศร้า เรามักเชื่อมโยงความเจ็บป่วยทางจิตใจนี้เข้ากับความเจ็บปวดทางอารมณ์ เช่น ความโศกเศร้า การร้องไห้ และความรู้สึกสิ้นหวัง

ผลการวิจัยจากแหล่งที่เชื่อถือได้แสดงให้เห็นว่า ภาวะซึมเศร้าสามารถแสดงออกมาในรูปแบบของความเจ็บปวดทางร่างกายได้เช่นกัน

ในขณะที่เรามักไม่ค่อยคิดกันว่า โรคซึมเศร้าเป็นความเจ็บปวดทางร่างกาย แต่บางสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีการพูดถึงเรื่องสุขภาพจิตอย่างเปิดเผยเป็นข้อห้ามทางวัฒนธรรม

ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมในจีนและเกาหลีนั้น โรคซึมเศร้าถือเป็นเรื่องของจินตนาการ ดังนั้นหากคาดว่าความเจ็บปวดทางร่างกายที่ผู้ป่วยได้รับนั้นไม่ได้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความทุกข์ทางจิตใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการทางร่างกาย แทนที่จะกล่าวถึงภาวะซึมเศร้า

แต่การรักษาอาการทางกายเหล่านี้ก็มีความสำคัญพอ ๆ กับผลกระทบทางอารมณ์ที่อยู่ในใจ

ประการที่ 1  การตรวจสอบร่างกายและจิตใจของคุณเป็นวิธีที่ดี ร่างกายสามารถส่งสัญญาณของอาการว่ากำลังจะเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าออกมา หรือทำให้รู้ว่าคุณกำลังมีอาการซึมเศร้า

ในทางตรงกันข้ามอาการทางร่างกายแสดงให้เห็นว่า ในความเป็นจริงแล้วภาวะซึมเศร้าเป็นเรื่องจริงแท้แน่นอนและอาจเป็นอันตรายต่อความเป็นอยู่โดยรวมของเราได้

อาการทางกายที่พบบ่อยที่สุด 7 อย่างของภาวะซึมเศร้า คือ

1. ความเหนื่อยล้าหรือไร้เรี่ยวแรงลงเรื่อยๆ

ความเหนื่อยล้าเป็นอาการทั่วไปของโรคซึมเศร้า บางครั้งเราแต่ละคนพบว่า มีความรู้สึกเฉื่อยชาและระดับพลังลดลงในตอนเช้า อยากจะนอนดูทีวีอยู่บนเตียงแทนการออกไปทำงาน

เรามักเชื่อว่าความเหนื่อยล้าเกิดจากความเครียด ในขณะที่ภาวะซึมเศร้าก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าได้เช่นกัน ซึ่งจะแตกต่างไปจากความเหนื่อยล้าจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ความเหนื่อยล้าที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมสมาธิ ความรู้สึกหงุดหงิด และไม่แยแสกับอะไรเลย

ดร. Maurizio ผู้อำนวยการโครงการวิจัยทางคลินิกที่โรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์แห่งบอสตัน ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่มีอาการซึมเศร้ามักจะนอนไม่หลับ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะรู้สึกเฉื่อยชาแม้ว่าจะได้พักผ่อนมาตลอดทั้งคืนแล้วก็ตาม

อย่างไรก็ตามความเจ็บป่วยทางร่างกายมีสาเหตุมาจากหลายอย่าง เช่น ความเหนื่อยล้าที่อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส จึงนับเป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะได้อย่างชัดเจนว่า ความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นนั้นเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหรือไม่

วิธีที่จะบอกได้อย่างหนึ่งคือ ในขณะที่ความเหนื่อยล้าในชีวิตประจำวันเป็นสัญญาณของความเจ็บป่วยทางจิต อาการอื่น ๆ เช่น ความเศร้า ความรู้สึกสิ้นหวัง และ anhedonia (การขาดความสุขในกิจกรรมประจำวัน) อาจเกิดขึ้นได้เมื่อคุณมีภาวะซึมเศร้า

2. อดทนต่อความเจ็บปวดได้น้อยลง (หรือที่เรียกว่าเจ็บมากขึ้นกับทุกอย่าง)

คุณเคยรู้สึกว่าเส้นประสาทของคุณร้อนเหมือนโดนไฟเผา แต่คุณไม่พบสาเหตุใด ๆ ที่ทำให้คุณรู้สึกอย่างนั้นเลยบ้างหรือไม่? นั่นคือความเจ็บปวดมักจะเกิดขึ้นร่วมกับอาการซึมเศร้า

ในปี ค.ศ.2015 มีผลงานจากการศึกษาชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่มีอาการซึมเศร้าและความต้านทานต่อความเจ็บปวดลดลง ในขณะที่การศึกษาชิ้นอื่นๆ ในปี 2010 แสดงให้เห็นว่าความเจ็บปวดจะมีความรุนแรงมากขึ้นในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า

อาการทั้งสองนี้ไม่มีเหตุผลใดที่เชื่อมโยงถึงกันได้อย่างชัดเจน แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องประเมินอาการทั้ง 2 อย่างนี้ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากแพทย์แนะนำให้รักษาโดยการใช้ยา

งานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่า การใช้ยาต้านอาการซึมเศร้าไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้เป็นยาแก้ปวดและต่อสู้กับความเจ็บปวดได้อีกด้วย

3. ปวดหลังหรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย

คุณอาจรู้สึกสบายดีในตอนเช้า แต่เมื่อคุณทำงานหรือนั่งอยู่ที่โต๊ะเรียนคุณจะเริ่มปวดหลัง ซึ่งอาจเกิดจากความเครียดหรืออาจเกิดจากภาวะซึมเศร้า แม้ว่าอาการเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกับการจัดท่าทางของร่างกายที่ไม่เหมาะสมหรือเกิดจากการบาดเจ็บ แต่อาการปวดหลังก็อาจเป็นหนึ่งในอาการของความทุกข์ทางจิตใจได้เช่นกัน

การศึกษาวิจัยในปี 2017 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในแคนาดา 1,013 คน พบความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างภาวะซึมเศร้าและอาการปวดหลัง

นักจิตวิทยาและจิตแพทย์เชื่อมานานแล้วว่า ปัญหาทางอารมณ์อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยเรื้อรังได้ แต่ยังคงมีการค้นคว้าข้อมูลเฉพาะทาง เช่น ความเชื่อมโยงระหว่างภาวะซึมเศร้าและการตอบสนองต่อการอักเสบของร่างกาย

  มีการศึกษาใหม่ๆ ที่ได้เสนอแนะว่า การอักเสบภายในร่างกายอาจมีบางอย่างเกี่ยวข้องกับระบบประสาทในสมองของเรา คาดว่าการอักเสบนี้อาจขัดขวางการส่งสัญญาณของสมอง และอาจมีส่วนทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า และมีผลต่อวิธีการรักษา

4. ปวดศีรษะ

แทบทุกคนเคยมีอาการปวดหัวเป็นครั้งคราว ซึ่งเป็นเรื่องปกติมากและเรามักไม่สนใจเพราะคิดว่าไม่มีอันตรายร้ายแรง สถานการณ์การทำงานที่ตึงเครียด เช่น มีความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานอาจทำให้มีอาการปวดศีรษะได้

อย่างไรก็ตาม อาการปวดศีรษะนี้อาจไม่ได้เกิดจากความเครียดเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเคยอดทนกับเพื่อนร่วมงานของคุณมาก่อน แต่หากสังเกตพบว่ามีอาการเปลี่ยนไป คือ คุณมีอาการปวดหัวทุกวัน นั่นอาจเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้า

ซึ่งแตกต่างจากอาการปวดหัวไมเกรนอย่างรุนแรง อาการปวดหัวที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าไม่จำเป็นต้องทำให้การทำงานของคนเราแย่ลง National Headache Foundation ได้อธิบายไว้ว่า “ปวดศีรษะแบบตึงเครียด” อาการปวดศีรษะประเภทนี้อาจทำให้รู้สึกเหมือนมีอาการสั่นเบาๆ ร่วมอยู่ด้วย โดยเฉพาะบริเวณคิ้ว

ในขณะที่อาการปวดหัวเหล่านี้อาจได้หายไปได้จากการใช้ยาแก้ปวดที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป  แต่มักจะกลับมาปวดซ้ำได้ใหม่อยู่เป็นประจำ บางครั้งอาการปวดศีรษะจากความตึงเครียดเรื้อรังอาจเป็นอาการของโรคซึมเศร้า

อย่างไรก็ตาม อาการปวดศีรษะไม่ใช่ข้อบ่งชี้เพียงอย่างเดียวที่จะบอกว่า ความเจ็บปวดของคุณอาจเป็นเรื่องทางจิตใจ ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักมีอาการอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น ความเศร้า ความรู้สึกหงุดหงิด และไร้เรี่ยวแรง

5. มีปัญหาสายตาหรือความสามารถในการมองเห็นลดลง

คุณมองเห็นโลกนี้แบบพร่ามัวบ้างหรือไม่? แม้ว่าภาวะซึมเศร้าอาจทำให้โลกจะดูเป็นสีเทาและดูเย็นชา แต่ในปี 2010 มีงานวิจัย ในเยอรมนีชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่า ความกังวลด้านสุขภาพจิตนี้อาจส่งผลต่อสายตาของคนเราได้

ในการศึกษากับกลุ่มทดลองจำนวน 80 คน พบว่า คนที่ซึมเศร้ามีปัญหาในการมองเห็นความแตกต่างของสีดำและสีขาว ที่นักวิจัยรู้จักกันในชื่อ “การรับรู้คอนทราสต์” สิ่งนี้อาจใช้อธิบายได้ว่าทำไมภาวะซึมเศร้าจึงทำให้โลกดูมืดมน

6. ปวดท้องหรือรู้สึกไม่สบายในช่องท้อง

ความรู้สึกลึกๆ ในท้อง เป็นหนึ่งในสัญญาณที่เด่นชัดที่สุดของภาวะซึมเศร้า อย่างไรก็ตามเมื่อคุณเริ่มรู้สึกปวดเกร็งที่หน้าท้อง คุณสามารถหายปวดได้ง่ายกว่า อาการปวดประจำเดือน หรือปวดเมื่อยทั่วไป

ความเจ็บปวดที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดความเครียด อาจเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้า ในความเป็นจริงนักวิจัยของ Harvard Medical School แนะนำว่า ความรู้สึกไม่สบายท้อง เช่น ปวดเกร็ง ท้องอืด และคลื่นไส้ อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่ามีสุขภาพจิตที่ไม่ดี

ความไม่สบายท้องเชื่อมโยงกับอะไร? ข้อมูลของ นักวิจัยจาก Harvard  พบว่า ภาวะซึมเศร้าอาจทำให้ (หรือเป็นผลมาจาก) ระบบย่อยอาหารอักเสบ โดยมีอาการปวดที่เข้าใจผิดได้ง่ายว่าเป็นโรค เช่น ลำไส้อักเสบ หรือลำไส้แปรปรวน

บางครั้ง แพทย์และนักวิทยาศาสตร์เรียกลำไส้ว่า สมองที่สอง “second brain” เนื่องจากพบว่า มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างสุขภาพทางเดินอาหารและสภาพทางจิตใจ กระเพาะอาหารของเราเต็มไปด้วยแบคทีเรียที่ดี และหากแบคทีเรียชนิดนี้ขาดความสมดุล อาจทำให้เกิดอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าได้

การรับประทานอาหารที่สมดุลและการรับประทานโปรไบโอติก สามารถช่วยในการฟื้นฟูสุขภาพของลำไส้ให้ดีขึ้นได้ ซึ่งอาจทำให้มีอารมณ์ดีขึ้นได้เช่นกัน แต่เรื่องดังกล่าวนี้ยังมีความจำเป็นต้องได้รับการวิจัยเพิ่มเติม

7. ปัญหาทางเดินอาหารหรือลำไส้ผิดปกติ

ปัญหาทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูกและท้องร่วง อาจเป็นเรื่องน่าอายและไม่สบายใจ ซึ่งมักเกิดจากอาหารเป็นพิษ หรือไวรัสในระบบทางเดินอาหาร เป็นเรื่องง่ายที่จะสันนิษฐานว่า ความรู้สึกไม่สบายของลำไส้เกิดจากความเจ็บป่วยทางร่างกาย

แต่อารมณ์ เช่น ความเศร้า ความวิตกกังวล และความรู้สึกที่รุนแรงมาก สามารถขัดขวางการย่อยอาหารของเราได้ มีการศึกษาในปี 2011  ชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่า มีความเชื่อมโยงระหว่างความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และอาการปวดในระบบทางเดินอาหาร

 ความเจ็บปวดเป็นการสื่อสารอีกวิธีหนึ่งของสมอง

หากคุณรู้สึกไม่สบายใจที่จะพูดถึงอารมณ์ที่น่าวิตกอย่างเจาะจง เช่น ความเศร้า ความโกรธ และความอับอาย สิ่งนี้อาจส่งผลให้แสดงความรู้สึกออกมาทางร่างกายแตกต่างกันไป

หากคุณมีอาการทางร่างกายเหล่านี้มานานแล้ว ให้นัดหมายกับแพทย์เพื่อขอให้เป็นแพทย์หรือพยาบาลประจำตัวที่จะช่วยรักษา หากคุณยังไม่สามารถหาแพทย์หรือพยาบาลได้ ให้คลิ๊กที่ Healthline FindCare tool  ของเรา เพื่อให้เราสามารถช่วยคุณติดต่อกับแพทย์ในพื้นที่ของคุณได้

จากข้อมูลของ American Psychological Association ภาวะซึมเศร้าเป็นหนึ่งในความเจ็บป่วยทางจิตใจที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่ชาวอเมริกันถึง 14.8 ล้านคนในแต่ละปี

ภาวะซึมเศร้าอาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม การมีความเครียดในวัยเด็ก การบาดเจ็บ และสารเคมีในสมอง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตบำบัด และรักษาโดยการใช้ยาเพื่อให้ฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ

ในการนัดหมายของคุณนั้น หากสงสัยว่าอาการทางกายเหล่านี้อาจจะเป็นมากกว่าอาการแบบผิวเผินทั่วไป ขอให้รับการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลด้วย วิธีนี้ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ จะสามารถแนะนำและให้ความช่วยเหลือแก่คุณได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.nimh.nih.gov/health/topics/depression/index.shtml

●     https://www.webmd.com/depression/default.htm

●     https://www.nhs.uk/conditions/clinical-depression/