การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าจากการผ่าตัด อาการ สาเหตุ การรักษา

Depression คือภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นกับคนเราเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ในบางครั้งอาจจะเกิดจากการเจ็บป่วยหรือการรักษาพยาบาล เช่นการฟื้นตัวจากการผ่าตัดอาจต้องใช้เวลา และทำให้รู้สึกไม่สบาย หลายคนรู้สึกมีกำลังใจเมื่อพวกเขาเริ่มรู้สึกดีขึ้น อย่างไรก็ตามบางครั้งภาวะซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นได้

โรคซึมเศร้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัดทุกประเภท เป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษา เพื่อให้สามารถรับมือได้อย่างเหมาะสม

สาเหตุโรคซึมเศร้าจากการผ่าตัด

หลายคนที่เป็นโรคซึมเศร้าหลังผ่าตัดมักไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น แพทย์ไม่สามารถเตือนผู้ป่วยล่วงหน้าได้เสมอไป

ปัจจัยร่วมที่ส่งผลต่อโรคซึมเศร้าหลังการผ่าตัด

●     โรคซึมเศร้าก่อนการผ่าตัด

●     อาการปวดเรื้อรัง

●     ปฏิกิริยาจากยาสลบ

●     ปฏิกิริยาจากยาแก้ปวด

●     ประสบการณ์เฉียดความตาย

●     ความเครียดทางร่างกาย และอารมณ์จากการผ่าตัด

●     ความกังวลเกี่ยวกับระยะเวลาในการฟื้นตัว

●     ความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด

●     ความรู้สึกผิดต่อบุคคลอื่น

●     กังวลว่าการผ่าตัดอาจไม่ได้ผล

●     ความเครียดเกี่ยวกับการฟื้นตัวจนกว่าจะกลับบ้าน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และอื่น ๆ

การผ่าตัดบางประเภทมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าหลังผ่าตัด แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทุก ๆ ประเภทของการผ่าตัด

ผลการศึกษาในปี 2559 พบความเชื่อมโยงระหว่างภาวะซึมเศร้าโรคซึมเศร้าหลังการผ่าตัด และผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง โรคซึมเศร้าหลังผ่าตัดทำให้สามารถคาดการณ์เกี่ยวกับความเจ็บปวดที่ตามมาได้

โรคซึมเศร้าจากการผ่าตัดหัวเข่าและโรคข้อเข่าเสื่อม

จากการศึกษาร้อยละ 10.3 ของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหัวเข่าจะมีอาการซึมเศร้า

อย่างไรก็ตามงานวิจัยอื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่าภาวะซึมเศร้าอาจส่งผลต่อร้อยละ 20 ของผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยในการผ่าตัดหัวเข่า

บางคนอาจพบว่าอาการซึมเศร้าของพวกเขาดีขึ้นหลังการผ่าตัด โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาได้รับผลลัพธ์ที่ดี

ผลการวิจัยขี้ว่าภาวะซึมเศร้าอาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อข้อต่อกระดูกเชิงกราน (PJI) ในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าได้

โรคซึมเศร้าหลังการผ่าตัดหัวใจ

อาการซึมเศร้าหลังการผ่าตัดหัวใจเป็นเรื่องที่เกิดได้ตามปกติ จนมีชื่อเรียกอาการนี้ว่า: ภาวะซึมเศร้าของหัวใจ

จากข้อมูลของ American Heart Association (AHA) ประมาณ 25 %ของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจจะมีอาการซึมเศร้า

ตัวเลขนี้มีความสำคัญ เนื่องจาก AHA แนะนำว่าความคิดเชิงบวกสามารถช่วยเสริมประสิทธิภาพการรักษาได้

อาการโรคซึมเศร้าหลังการผ่าตัด

อาการของโรคซึมเศร้าหลังการผ่าตัดสามารถเกิดได้ง่าย เนื่องจากอาการบางอย่างที่เกิดจากผลของการผ่าตัด ได้แก่ :

● นอนมากเกินไป หรือนอนบ่อยกว่าปกติ

●     รู้สึกหงุดหงิด

●     สูญเสียความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ

●     รู้สึกเหนื่อยล้า

●     วิตกกังวล เครียด หรือความสิ้นหวัง

●     เบื่ออาหาร

ยาและผลของการผ่าตัดอาจนำไปสู่:

●     เบื่ออาหาร

●     นอนหลับมากเกินไป

หากผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาการทางอารมณ์ เช่น รู้สึกสิ้นหวัง กระสับกระส่าย หรือสูญเสียความสนใจทำกิจกรรมต่าง ๆ พร้อม ๆ กับความเหนื่อยล้า และเบื่ออาหาร อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด

เมื่อมีอาการดังกล่าวนานกว่า 2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการของภาวะซึมเศร้า

หากภาวะซึมเศร้าปรากฏขึ้นทันทีหลังการผ่าตัด อาจเนื่องจากผลของยา แต่ถ้าอาการยังดำเนินต่อไปเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้นอาจเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้า

การรักษาโรคซึมเศร้าหลังการผ่าตัด

การรู้ว่าต้องทำอย่างไรเพื่อจัดการภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัดก่อนถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ

คำแนะนำในการรับมืออาการซึมเศร้า ได้แก่

1. ไปพบแพทย์ : นัดพบแพทย์ หากสงสัยว่าตนเองมีภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด

พวกเขาอาจจะสั่งจ่ายยาที่ไม่กระทบต่ออาการหลังการผ่าตัด นอกจากนี้อาจแนะนำผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสม

หากกำลังพิจารณาหาอาหารเสริมจากธรรมชาติ ให้ถามแพทย์ว่าปลอดภัยหรือไม่ หรือรบกวนยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่หรือไม่

2. การเปลี่ยนบรรยากาศข้างนอก : การเปลี่ยนทัศนียภาพ และการสูดอากาศบริสุทธิ์อาจช่วยจัดการอาการซึมเศร้าบางอย่างได้

หากการผ่าตัดหรือภาวะสุขภาพส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย ผู้ดูแลควรพาไปเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง

ผู้ป่วยควรตรวจสอบก่อนว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในสถานที่ที่จะไปหรือไม่ หรือสอบถามกับแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงก่อน

3. มุ่งเน้นที่ความคิดเชิงบวก : ตั้งเป้าหมายเชิงบวก และเป็นจริงได้ ฉลองอาการที่ดีขึ้นไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใด การตั้งเป้าหมายจะช่วยให้การรักษาเป็นไปในทางบวกได้

เน้นไปที่การพักฟื้นในระยะยาว แทนความยุ่งยากในการรักษาตัวอย่างเร่งรัด

4. การออกกำลังกาย : ออกกำลังกายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทันทีที่แพทย์อนุญาต คือวอธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตนเอง

หากการผ่าตัดเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า หรือสะโพก การออกกำลังกายคือส่วนหนึ่งของการรักษา นักบำบัดจะกำหนดแนวทางการออกกำลังกายที่เหมาะสมให้ผู้ป่วย

การผ่าตัดประเภทอื่น ๆ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสามารถออกกำลังกายได้เมื่อใด และอย่างไร

ขึ้นอยู่กับวิธีการผ่าตัดที่ใช้ ผู้ ป่วย โรค ซึม เศร้า อาจยกน้ำหนักสักเล็กน้อย หรือยืดตัวบนเตียงได้ แพทย์จะช่วยกำหนดการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

5. การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ : อาหารที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นและควบคุมน้ำหนักได้  นอกจากนี้ยังให้สารอาหารที่ร่างกายต้องการในการรักษาด้วย สิ่งที่ควรบริโภค :

●     ผักและผลไม้สด

●     ธัญพืช

●     น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ

●     น้ำ

สิ่งที่ควรจำกัดและหลีกเลี่ยง :

●     อาหารแปรรูป

●     อาหารที่มีไขมันสูง

●     อาหารที่มีน้ำตาลสูง

●     เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

6. เตรียมความพร้อมก่อน : การเตรียมที่พักเพื่อพักฟื้น ก่อนเข้ารับการผ่าตัดสามารถลดความเครียดและความวิตกกังวลได้

นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงของปัญหา และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่นการตกใจ และหาเอกสารที่เกี่ยวข้องไม่พบได้

วิธีช่วยผู้ป่วยที่มีโรคซึมเศร้าหลังการผ่าตัด

สิ่งสำคัญคือต้องทราบสัญญาณ และอาการของภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการผ่าตัด

วิธีการช่วยผู้ป่วยที่กำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้ามีดังนี้

●     มองโลกในแง่ดี โดยไม่ลดทอนความรู้สึกเศร้าหรือหกหู่

●     ปล่อยให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกที่มี

●     ส่งเสริมนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ.

●     จัดกิจวัตรประวำวัน

●     ช่วยให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย

●     ยินดีในทุก ๆ ความสำเร็จ เพราะความสำเร็จแต่ละครั้งล้วนมีความสำคัญ

หากสภาพร่างกายของผู้ป่วยดีขึ้น อาการซึมเศร้าก็อาจลดน้อยลงได้เช่นกัน หากเป็นเช่นนั้นแนะนำให้ไปพบแพทย์

ภาพรวมของภาวะซึมเศร้าหลังผ่าตัด

อาการซึมเศร้าอาจเป็นผลข้างเคียงของการผ่าตัด

สำหรับผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดอาจเกิดประโยชน์กับพวกเขาและครอบครัวในการจัดการกับภาวะซึมเศร้า และรับรู้ถึงสัญญาณต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

วิธีนี้จะช่วยให้รู้ว่าเมื่อใดที่ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรักษา แต่เนิ่น ๆ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.nimh.nih.gov/health/topics/depression/index.shtml

●     https://www.webmd.com/depression/default.htm

●     https://www.webmd.com/depression/default.htm

●     https://www.nhs.uk/conditions/clinical-depression/

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *