สาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร

สาเหตุโรคซึมเศร้าคืออะไร คุณเคยสงสัยไหมว่าอะไรที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า บางที คุณอาจถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า และนั่นอาจทำให้คุณตั้งคำถามว่า ทำไมคนบางคนถึงเป็นโรคซึมเศร้า แต่บางคนไม่เป็น

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ซับซ้อน ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่ามันเกิดจากอะไร แต่มันเกิดจากหลายสาเหตุ บางคนมีภาวะซึมเศร้าระหว่างที่ป่วยอย่างรุนแรง บางคนอาจมีภาวะซึมเศร้าเพราะความเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น การย้าย หรือ การเสียชีวิตของคนที่รัก หรือบางคนมีประวัติครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจากสาเหตุนี้อาจรู้สึกซึมเศร้าและรู้สึกว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นเกินจะรับไหวพร้อมกับความเศร้าและความโดดเดี่ยวที่ไม่มีสาเหตุ

 

มีหลายสิ่งที่สามารถเพิ่มโอกาสของโรคซึมเศร้าได้ รวมไปถึงสิ่งเหล่านี้:

●    การถูกทำร้าย: ทางร่างกาย ทางเพศ หรือทางจิตใจ สามารถทำให้คุณรู้สึกอ่อนแอต่อภาวะซึมเศร้าได้

●    อายุ: ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสุงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งสามารถทำให้แย่ลงได้ด้วยปัจจัยอื่น เช่น การอยู่คนเดียวหรือการขาดการสนับสนุนทางสังคม

●    ยาบางชนิด: เช่น isotretinoin (ยารักษาสิว) ยาต้านไวรัส interferon-alpha และ corticosteroids สามารถเพิ่มความเสี่ยงของโรคซึมเศร้าได้

●    ความขัดแย้ง: โรคซึมเศร้าในบางคนที่มีความอ่อนแอทางชีววิทยาอยู่แล้วอาจเป็นผลมาจากความขัดแย้งกับคนในครอบครัวหรือเพื่อน

●    การเสียชีวิต หรือ การสูญเสีย: ความเศร้าหลังจากความตายหรือการสูญเสียคนที่รัก แม้ว่าจะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของโรคซึมเศร้าได้

●    เพศ: ผู้หญิงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย  2 เท่า ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงอายุต่าง ๆ อาจเป็นสาเหตุ

●    ยีนส์: ครอบครัวที่มีประวัติป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอาจเพิ่มความเสี่ยง โรคซึมเศร้านั้นเป็นสิ่งที่ซับซ้อน หมายความว่าอาจมียีนส์หลายตัวที่ส่งผลกระทบ มากกว่ายีนตัวเดียว โรควึมเศร้าที่เกิดจากยีนส์ เหมือนกับความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ ไม่ได้ง่ายเหมือนโรคทางยีนส์ เช่น โรคฮันติงตัน หรือ โรคซีสติกไฟโบรซิส

●    เหตุการณ์ต่าง ๆ แม้กระทั่งเหตุการณ์ดี ๆ เช่น เริ่มงานใหม่ เรียนจบ หรือการแต่งงานสามารถทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งเหมือนกับการย้ายที่อยู่ เสียงานหรือรายได้ การหย่าร้าง หรือการปลดเกษียณ อย่างไรก็ตาม อาการของโรคซึมเศร้านั้นไม่เคยเป็นการตอบสนอง “ปกติ” ต่อเหตุการณ์ในชีวิตที่เครียด ๆ

●    ปัญหาส่วนตัวอื่น ๆ ปัญหาต่าง ๆ เช่น การปลีกตัวจากสังคมเนื่องมาจากความเจ็บป่วยทางจิต หรือการถูกทิ้งจากคนในครอบครัวหรือกลุ่มสังคมสามารถทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้

●    ป่วยอย่างรุนแรง: บางครั้ง โรคซึมเศร้าก็เกิดขึ้นเพราะการป่วยหรืออาจถูกกระตุ้นโดยโรคบางอย่าง

●    การใช้สารในทางที่ผิด: เกือบจะ 30% ของผู้ที่ใช้สารในทางที่ผิดมีภาวะซึมเศร้า ถึงแม้ว่ายาเสพติดและแอลกอฮอล์จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นชั่วคราว แต่สุดท้ายแล้วก็ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า

 

 

ชีววิทยาเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าอย่างไร

นักวิจัยได้บันทึกความแตกต่างในสมองของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าและผู้ที่ไม่เป็น เช่น ฮิปโปแคมปัส ส่วนเล็ก ๆในสมองที่เก็บความทรงจำ มีความเล็กลงในผู้ที่มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้ากว่าผู้ที่ไม่เคยเป็น ฮิปโปแคมปัสที่เล็กลงมีตัวรับเซโรโทนินน้อยลง เซโรโทนินเป็นหนึ่งในสารเคมีในสมองที่เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยให้สมองในส่วนที่ต่าง ๆ กันสามารถสื่อสารกันได้ในกระบวนการทางอารมณ์

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบว่าทำไมฮิปโปแคมปัสในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าบางคนถึงเล็กลง นักวิจัยบางคนพบว่าฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอลนั้นถูกผลิตขึ้นมามากไปในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า พวกเขาเชื่อว่าฮอร์โมนี้มีผลกระทบทำให้ฮิปโปแคมปัสหดตัวลง ผู้เชี่ยวชาญบางคนคิดว่าผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจเกิดมาพร้อมกับฮิปโปแคมปัสที่มีขนาดเล็กซึ่งทำให้เกิดโรคซึมเศร้า ยังมีส่วนอื่น ๆ ในสมองที่ถูกมองว่าเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้ายังไม่มีโครงสร้างของสมองใดที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคซึมเศร้า

สิ่งหนึงที่แน่นอน: โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ซับซ้อนที่มาจากหลายปัจจัย การศึกษาโดยการสแกนโครงสร้างและการทำงานของสมองล่าสุดแสดงให้เห็นว่ายาต้านซึมเศร้าสามารถที่จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทได้ หมายถึง พวกมันสามารถช่วยรักษาเซลล์ประสาท ป้องกันพวกมันไม่ให้ตาย และช่วยให้พวกมันสร้างการเชื่อมต่อที่เข้มเเข็งขึ้นเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของโรคซึมเศร้ามากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้ดีขึ้น และสามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

พันธุกรรมเชื่อมโยงกับโรคซึมเศร้าอย่างไร

เราทราบกันว่าบางครั้งโรคซึมเศร้านั้นสามารถส่วต่อกันได้ในครอบครัว ซึ่งทำให้เห็นว่าอย่างน้อยพันธุกรรมก็มีส่วนเชื่อมโยงกับโรคซึมเศร้า ลูก พี่น้อง และพ่อแม่ที่เป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรงค่อนข้างที่จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไป ยีนส์หลายตัวที่มีปฏิกริยากันอาจมีส่วนให้เกิดโรคซึมเศร้าหลาย ๆ ชนิดที่ถ่ายทอดในครอบครัว แต่นอกเหนือจากหลักฐานที่ว่าครอบครัวเชื่อมโยงกับโรคซึมเศร้า ก็ยังไม่ได้มียีนใดยีนหนึงที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า แต่เป็นการที่หลาย ๆ ยีนส์ที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าเมื่อพวกมันมีปฏิกิริยาต่อสภาพแวดล้อม

 

ยาต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้หรือไม่

ยาบางอย่างทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้หรือไม่ ในบางคน ยาอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ ตัวอย่างเช่น ยากลุ่ม barbiturates ยานอนหลับกลุ่ม benzodiazepines และยาสำหรับรักษาสิว isotretinoin ซึ่งบางครั้งมีความเชื่อมโยงกับโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ นอกจากนั้น ยาอื่น ๆ เช่น corticosteroids ยา opioids และยา anticholinergics ที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดท้องสามารถทำให้อารมณ์เปลี่ยนและขึ้น ๆ ลง ๆ ได้

ความเชื่อมโยงของโรคซึมเศร้าและความเจ็บป่วยเรื้อรัง

ในบางคน การป่วยเรื้อรังทำให้เกิดโรคซึมเศร้า การเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นการป่วยที่กินเวลายาวนานและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตาม การเจ็บป่วยเรื้อรังสามารถควบคุมได้ด้วยอาหาร การออกกำลังกาย นิสัยการใช้ชีวิต และยาบางชนิด ตัวอย่างโรคเรื้อรังที่อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้แก่ เบาหวาน โรคหัวใจ โรคข้อเข่าอักเสบ โรคไต โรคเอดส์ โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง และ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ภาวะพร่องไทรอยด์อาจทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าได้เช่นกัน

นักวิจัยเชื่อว่า การรักษาโรคซึมเศร้าอาจช่วยให้โรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ดีขึ้นด้วยได้

โรคซึมเศร้าเชื่อมโยงกับความเจ็บปวดเรื้อรังหรือไม่

เมื่อความเจ็บปวดนั้นกินเวลายาวนานหลายเดือนหรือหลายสัปดาห์ มันจะถุกเรียกว่า เรื้อรัง ซึ่งไม่เพียงจะเจ็บปวด รบกวนการนอน ความสามารถในการออกกำลังกาย ความสัมพันธ์ และประสิทธิภาพในการทำงานด้วย ความเจ็บปวดเรื้อรังนั้นทำให้คุณรู้สึกเศร้า ปลีกตัว และซึมเศร้า

มันยังมีความช่วยเหลือสำหรับความเจ็บปวดเรื้อรังและอาการโรคซึมเศร้า มีการรักษาด้วยยาหลายวิธี จิตวิทยาบำบัด กลุ่มให้กำลังใจ และมากมายที่สามารถจัดการความเจ็บปวด และบรรเทาโรคซึมเศร้า และทำให้ชีวิตของคุณกลับมาเป็นดังเดิม

 

 

อาการคนเป็นโรคซึมเศร้า

ความโศกเศร้าเป็นเรื่องปกติ เป็นการตอบสนองปกติต่อการสูญเสีย การสูญเสียอาจทำให้เกิดการโศกเศร้าซึ่งรวมไปถึง การเสียชีวิต การแยกจากคนรัก การเสียงาน การเสียชีวิต หรือการหายไปของสัตวืเลี้ยงอันเป็นที่รัก หรือความเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น การหย่าร้าง การเป็นพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือการเกษียณ

โดยอาการของคนเป็นโรคซึมเศร้าจะมีดังนี้

●    นอนไม่หลับ

●    เบื่ออาหาร หรือบางครั้งอาจจะทานมากเกินไป

●    อ่อนเพลีย

●    รู้สึกสิ้นหวัง

●    รู้สึกไร้ค่า

●    เกิดความเศร้าโดยไม่มีเหตุผล

●    มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

เราสามารถพบเจอกับความโศกเศร้าและการสูญเสียกันทั้งนั้น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งแตกต่างจากความโศกเศร้าที่มาจากอย่างอื่น เช่น รู้สึกไม่มีค่า ความคิดลบ ๆ เกี่ยวกับอนาคต และการฆ่าตัวตาย แต่ความโศกเศร้าเป็นการที่มีความรู้สึกว่างเปล่า สูญเสีย และ ปราถนาที่จะได้คนรักกลับมา ซึ่งทำให้ไม่สามารถมีความสุขได้อย่างเต็มเปี่ยม ซึ่งการจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้แตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่เราจำเป็นต้องดูแลตัวเองและคนรอบข้างเพื่อสังเกตอาการซึมเศร้าของพวกเขา

 

 

 

 

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.nimh.nih.gov/health/topics/depression/index.shtml

●     https://www.webmd.com/depression/default.htm

●     https://www.nhs.uk/conditions/clinical-depression/

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *