การรักษาโรคซึมเศร้า
การบำบัด การทานยา การช่วยเหลือตัวเอง หากคุณสับสนกับทางเลือกในการรักษาโรคซึมเศร้าที่มีความแตกต่างกัน เราได้รวบรวม วิธีการตัดสินใจในเลือกแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับคุณในการรักษาโรคซึมเศร้า
ค้นหาวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
เมื่อคุณรู้สึกหดหู่ คุณจะรู้สึกเหมือนว่าคุณจะไม่สามารถหลุดพ้นออกไปจากความรู้สึกนี้ได้ อย่างไรก็ตามแม้แต่ภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงที่สุดก็สามารถรักษาได้ ดังนั้นหากโรคซึมเศร้าของคุณจะส่งผลให้คุณไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างที่ต้องการ อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ ตั้งแต่การบำบัดไปจนถึงการรักษาด้วยยาไปจนถึงการเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดี และมีทางเลือกในการรักษาที่แตกต่างหลากหลายออกไปมากมาย
แน่นอนว่า ไม่มีคนสองคนที่ได้รับผลกระทบจากโรคซึมเศร้าในลักษณะเดียวกัน ไม่มีการรักษาแบบเดียวกันที่จะเหมาะกับทุกคนในการรักษาโรคซึมเศร้า สิ่งที่ได้ผลกับคนหนึ่งอาจไม่ได้ผลสำหรับคนอื่น ในไม่ช้า คุณจะพบการรักษาที่สามารถช่วยให้คุณเอาชนะโรคซึมเศร้าได้ รู้สึกมีความสุขและมีความหวังอีกครั้ง และเรียกคืนชีวิตของคุณกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
เคล็ดลับการรักษาโรคซึมเศร้า
ศึกษาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามากเท่าที่จะเป็นไปได้
สิ่งสำคัญคือต้องประเมินอาการซึมเศร้าของคุณว่าเกิดจากสภาวะทางการแพทย์หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นควรเข้ารับการรักษาก่อน ความรุนแรงของโรคซึมเศร้าของคุณก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเช่นกัน ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่าไหร่คุณก็จะต้องได้รับการรักษาที่เข้มข้นมากขึ้นเท่านั้น
อาจต้องใช้เวลาในการค้นหาการรักษาอาการซึมเศร้าที่เหมาะสม
มันอาจต้องใช้วิธีลองผิดลองถูกในการค้นหาวิธีการรักษาและการสนับสนุนที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ตัวอย่างเช่น หากคุณตัดสินใจที่จะเข้ารับการบำบัดอาจต้องใช้ความพยายามสองถึงสามครั้งเพื่อค้นหานักบำบัดที่เข้ากับคุณได้ หรืออาจลองใช้ยาต้านเศร้า ซึ่งเป็นทางเดียวที่คุณไม่จะเป็นต้องใช้มันหากคุณเดินเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงทุกวัน เปิดโอกาสในการเปลี่ยนแปลงและเพื่อการทดลองเพียงเล็กน้อย
อย่าพึ่งยาเพียงอย่างเดียว
แม้ว่ายาจะสามารถบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ แต่ก็ไม่เหมาะสำหรับการใช้ในระยะยาว การรักษาอื่นๆ เช่น การออกกำลังกายและการบำบัดอาจได้ผลเช่นเดียวกับการใช้ยา แต่ไม่ได้มีผลข้างเคียงเช่นการใช้ยา ซึ่งหากคุณตัดสินใจที่จะลองใช้ยาให้จำไว้ว่ายาจะออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดเมื่อคุณเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้มีสุขภาพดีด้วยเช่นกัน
เข้ารับการสนับสนุนทางสังคม
ยิ่งคุณมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากเท่าไหร่ คุณก็จะได้รับการปกป้องจากอาการของโรคซึมเศร้ามากขึ้นเท่านั้น หากยังลังเลที่จะพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนที่คุณไว้ใจ หรือค้นหากลุ่มสัมพันธ์ใหม่ๆที่สนับสนุนภาวะซึมเศร้าเป็นต้น การขอความช่วยเหลือไม่ได้แสดงถึงความอ่อนแอและไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นภาระของผู้อื่น บ่อยครั้งการพูดคุยกับใครบางคนแบบเห็นหน้ากันอย่างเรียบง่ายอาจช่วยได้มาก
การรักษาต้องใช้เวลาและความมุ่งมั่น
การรักษาภาวะซึมเศร้าทั้งหมดต้องใช้เวลาและบางครั้งอาจรู้สึกหนักใจหรือช้าจนน่าหงุดหงิด นั่นเป็นเรื่องปกติ การฟื้นตัวมักจะมีขึ้นมีลง
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต: ส่วนสำคัญของการรักษาโรคซึมเศร้า
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังในการรักษาโรคซึมเศร้า บางครั้งอาจเป็นทั้งหมดที่คุณต้องการ แม้ว่าคุณจะต้องการการรักษาอื่นๆเช่นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้ถูกต้องสามารถช่วยอาการซึมเศร้าให้ดีเร็วขึ้น และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีก
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพื่อรักษาอาการซึมเศร้า
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถรักษาอาการซึมเศร้าได้พอๆกับการใช้ยา ซึ่งไม่เพียงช่วยเพิ่มสารซีโรโทนิน, เอนดอร์ฟิน และสารเคมีในสมองอื่นๆที่ทำให้รู้สึกดีเท่านั้น แต่ยังกระตุ้นการเติบโตของเซลล์สมองใหม่และเกิดการเชื่อมต่อเช่นเดียวกับยาต้านเศร้า เหนือสิ่งอื่นใดคุณไม่จำเป็นถึงขั้นต้องฝึกวิ่งมาราธอนเพื่อประโยชน์ที่จะเกิดกับร่างกาย เพียงแค่การเดินวันละครึ่งชั่วโมงก็สามารถสร้างความแตกต่างได้มากเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด โดยเป้าหมายคือ การทำกิจกรรมแอโรบิคเป็นเวลา 30-60 นาทีต่อวัน
การสนับสนุนทางสังคม
การมีเครือข่ายทางสังคมที่แข็งแกร่งจะช่วยลดความโดดเดี่ยวลง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของโรคซึมเศร้า การที่ยังคงติดต่อกับเพื่อนและครอบครัว หรือการเข้าร่วมชั้นเรียนหรือกลุ่ม การเป็นอาสาสมัครเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ยอดเยี่ยม การเข้ารับการสนับสนุนทางสังคมและยังได้ช่วยเหลือผู้อื่นในขณะเดียวกันก็ได้ช่วยเยียวยาตัวเองไปในตัว
โภชนาการ
การรับประทานอาหารที่ดีเป็นสิ่งสำคัญต่อทั้งร่างกายและจิตใจ รับประทานเป็นมื้อเล็กๆ เลือกรับประทานอาหารอย่างสมดุลตลอดวัน จะช่วยให้คุณมีพลังงานเพิ่มขึ้นและลดการแปรปรวนทางอารมณ์ ขณะที่คุณอาจสนใจของหวานเพื่อเพิ่มพลังงานอย่างรวดเร็ว แต่คาร์โบไฮเดตรเชิงซ้อนเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะมันจะให้พลังงานโดยไม่เกิดปัญหาเรื่องนำ้ตาลในอนาคต
การนอนหลับ
การนอนหลับส่งผลต่ออารมณ์อย่างมาก เมื่อคุณนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อาการซึมเศร้าของคุณจะแย่ลง การอดนอนจะทำให้เกิดอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียว เศร้าหมอง และอ่อนเพลีย ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณนอนหลับอย่างเพียงพอในแต่ละคืน มีไม่กี่คนที่นอนหลับ 7 ชม.ต่อวัน ฉะนั้นควรตั้งเป้าการนอนหลับไว้ที่ 7-9 ชม.ต่อวัน
การคลายเครียด
การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับชีวิตของเราจะช่วยจัดการและคลายความเครียดได้ การที่เครียดมากเกินไปทำให้อาการซึมเศร้ารุนแรงขึ้นและทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าในอนาคต การกลับมามองชีวิตว่าอะไรที่ทำให้เกิดความเครียด เช่น งานหนักเกินไป หรือการไม่ได้รับการสนับสนุนทางสังคม ควรหาวิธีในการลดผลกระทบของมันให้น้อยที่สุด
การพิจารณาสาเหตุทางการแพทย์ของภาวะซึมเศร้า
Iหากคุณสงสัยว่าคุณอาจเป็นโรคซึมเศร้าและการเปลี่ยนแลวิถีชีวิตไม่ได้ผล คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด หากอาการซึมเศร้าของคุณเป็นผลมาจากสาเหตุทางการแพทย์ การบำบัดและยาต้านเศร้าดูเหมือนจะช่วยได้เพียงเล็กน้อย ภาวะซึมเศร้าจะไม่เป็นมากขึ้นจนกว่าจะมีการระบุและรักษาที่สาเหตุของปัญหาสุขภาพ
แพทย์จะทำการตรวจภาวะร่างกายและภาวะที่คล้ายกับภาวะซึมเศร้า และสร้างความมั่นใจว่าคุณจะไม่ใช้ยาที่อาจทำให้เกิดภาวะศึมเศร้าซึ่งเป็นผลข้างเคียง เงื่อนใขทางการแพทย์และยาสามารถเป็นเหตุให้เกิดอาการซึมเศร้า, อ่อนเพลีย และเกิดภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือไทรอยด์ไม่ทำงาน ซึ่งเป็นตัวควรคุมอารมณ์ โดยในแต่ละวันมีความเสี่ยงต่อปฏิกิริยาต่อกันของยา ที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า ยิ่งทานยามากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น
จิตบำบัดสำหรับการรักษาอาการของโรคซึมเศร้า
หากอาการของโรคซึมเศร้าไม่ได้มีสาเหตุมาจากสาเหตุทางการแพทย์ การบำบัดด้วยการพูดคุยก็เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้จากการบำบัดดังกล่าวจะช่วยให้คุณมีทักษะและทำให้รู้สึกดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้อาการซึมเศร้ากลับมาเป็นอีก
มีการบำบัดอยู่หลายประเภท แต่มี 3 วิธีด้วยกันที่มักใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า ได้แก่ การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy), จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal therapy) และ การบำบัดทางจิต (Psychodynamic therapy) บ่อยครั้งก็มีการผสมผสานหลายๆวิธีเ้ขาด้วยกันในการรักษา
การบำบัดบางประเภทจะสอนเทคนิคที่ใช้ได้จริงเกี่ยวกับการปรับกรอบความคิดเชิงลบและใช้ทักษะทางพฤติกรรมในการต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า การบำบัดยังช่วยให้คุณเข้าใจความรู้สึกของตัวเองมากขึ้น
การบำบัดและ “ภาพรวม”ในการรักษาภาวะซึมเศร้า
จุดเด่นอย่างหนึ่งของโรคซึมเศร้าคือ ความรู้สึกหนักใจและมีปัญหาในการโฟกัส ซึ่งการบำบัดจะช่วยให้คุณย้อนกลับไปดูว่าอะไรที่อาจส่งผลต่อโรคซึมเศร้าและคุณจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร นี่คือะธีม “ภาพรวม” บางส่วนที่การบำบัดสามารถช่วยได้:
ความสัมพันธ์
การทำความเข้ารูปแบบของความสัมพันธ์ การสร้างความสัมพันธ์ และการปรับปรุงความสัมพันธ์จะช่วยลดการแยกตัวและสร้างการสนับสนุนทางสังคมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคซึมเศร้า
การกำหนดขอบเขตของภาวะสุขภาพ
หากคุณมีความเครียดและหนักใจ โดยไม่สามารถปฏิเสธได้ คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น การกำหนดขอบเขตภาวะสุขภาพในความสัมพันธ์และในที่ทำงานสามารถช่วยบรรเทาความเครียดและการบำบัดสามารถช่วยให้คุณระบุและตรวจสอบขอบเขตที่เหมาะสมกับคุณได้
การจัดการกับปัญหาชีวิต
การได้พูดคุยกับนักบำบัดที่เชื่อถือได้ จะสามารถให้การตอบกลับที่ดีไปในทางบวกเกี่ยวกับปัญหาชีวิต
การบำบัดรายบุคคลหรือกลุ่ม
เมื่อคุณได้ยินคำว่า “บำบัด” คุณอาจคิดโดยอัตโนมัติว่าเป็นการบำบัดแบบตัวต่อตัวกับนักบำบัด อย่างไรก็ตาม กลุ่มบำบัดมีประโยชน์อย่างมากในการรักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งการบำบัดทั้งสองแบบที่กล่าวมาทั้งแบบกลุ่มและแบบรายบุคคลมักใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง โดยแต่ละแบบก็มีประโยชน์ที่ต่างกันออกไป เช่น การบำบัดรายบุคคล คุณจะสร้างความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับคนหนึ่งคน จะรู้สึกสบายใจที่จะในการเผยแพร่ข้อมูลที่อ่อนไหวร่วมกับคนเพียงหนึ่งคนมากกว่าแบบกลุ่ม อีกทั้งคุณยังได้รับความสนใจเป็นรายบุคคล
ในการบำบัดแบบกลุ่ม การรับฟังเพื่อนในกลุ่มบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ต่างๆ สามารถช่วยสร้างความภูมิใจต่อตัวเองได้ บ่อยครั้งที่สามาชิกภายในกลุ่มมีจุดที่แตกต่างกันเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า ดังนั้นคุณอาจจะได้รับคำแนะนำจากคนที่ประสบปัญหาหรือเคยทำงานผ่านปัญหาที่ท้าทายมาก เช่นเดียวกับการเสนอแรงบันดาลใจและความคิด การเข้าร่วมกลุ่มบำบัดสามารถช่วยเพิ่มกิจกรรมทางสังคมและสร้างเครือข่ายทางสังคม
เมื่อการบำบัดยากขึ้น…
เช่นเดียวกับการปรับปรุงบ้านเรือน เมื่อคุณแยกส่วนต่างๆที่ไม่ได้มีผลกับชีวิตของคุณออกไป มันมักจะทำให้รู้สึกแย่ก่อนที่จะรู้สึกดีขึ้น เช่นเดียวกันเมื่อการบำบัดดูยากขึ้นหรือเจ็บปวด อย่าพึ่งยอมแพ้ หากคุณพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกและมีปฏิกิริยาต่อนักบำบัด มันจะช่วยให้คุณก้าวไปข้างหน้ามากกว่าที่จะถอยกลับไปหาวิธีเก่าๆที่ได้ผลน้อย อย่างไรก็ตาม หากการติดต่อกับนักบำบัดของคุณเริ่มรู้สึกว่าถูกบังคับหรือไม่สบายใจ อย่ากลัวที่จะเสาะหาทางเลือกอื่นในหารบำบัด ความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันอย่างแน่นแฟ้นเป็นรากฐานของการบำบัดที่ดี
การหานักบำบัด
สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกนักบำบัดคือความสัมพันธ์ของคุณกับบุคคลนี้ นักบำบัดที่เหมาะสมควรเอาใจใส่และให้การสนับสนุนในการรักษาและฟื้นฟูภาวะซึมเศร้าของคุณ
มีหลายวิธีในการหานักบำบัด:
● การบอกแบบปากต่อปาก เป็นวิธีหนึ่งที่ดีที่สุดในการค้นหานักบำบัดที่ดี เพื่อนและครอบครัวของคุณอาจมีความคิดบางอย่างหรือแพทย์ที่ดูแลหลักของคุณอาจสามารถส่งต่อได้
● องค์ด้านสุขภาพจิตแห่งชาติสามารถช่วยแนะนำรายชื่อผู้ให้บริการที่มีใบอนุญาต
● หากมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ให้ตรวจสอบศูนย์ผู้อาวุโสในท้องถิ่นองค์กรทางศาสนาและคลินิกสุขภาพจิตในชุมชน เพราะสถานที่ดังกล่าวมักเสนอการบำบัดแบบเลื่อนการชำระได้
ยาสำหรับโรคซึมเศร้า
ยารักษาโรคซึมเศร้าอาจเป็นวิธีการรักษาโรคที่มีการโฆษณามากที่สุด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลดีที่สุด เพราะอาการซึมเศร้าไม่ใช่แค่ความไม่สมดุลของสารเคมีภายในสมองเท่านั้น ยาอาจช่วยบรรเทาอาการบางอย่างของภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลางและรุนแรงได้ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานได้และมักไม่ใช่วิธีนี้ในการแก้ไขปัญหาระยะยาว ยาต้านเศร้ายังมาพร้อมกับผลข้างเคียงและข้อกังวลด้านความผลอดภัย และการถอนยาอาจเป็นเรื่องยากมาก หากคุณกำลังพิจารณาว่ายาต้านเศร้าจะเหมาะกับคุณหรือไม่ การเรียนรู้ข้อเท็จจริงจะสามารถช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูล
แม้ว่าหากคุณตัดสินใจที่จะใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า อย่าเพิเฉยต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการบำบัดไม่เพียงแต่จะช่วยให้ฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้าเร็วขึ้นแล้ว แต่ยังให้ทักษะในการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีกด้วย
การบำบัดแบบ TMS สำหรับโรคซึมเศร้า
หากคุณเป็นโรคซึมเศร้าที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยา, การบำบัด และกาเข้ากลุ่มช่วยเหลือ มีการบำบัด TMS อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง การบำบัดด้วยการกระตุ้นแม่เหล็ก (Transcranial magnetic stimulation :TMS) เป็นการรักษาแบบที่ไม่รุกล้ำ โดยจะนำคลื่นพลังงานแม่เหล็กที่เกิดขึ้นประจำไปยังบริเวณต่างๆของสมองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ซึ่งคลื่นแม่เหล็กนี้ส่งผ่านกะโหลกศีรษะอย่างไม่ลำบากและกระตุ้นเซลล์สมองซึ่งสามารถปรับปรุงการสื่อสารระหว่างส่วนต่างๆของสมองแบะบรรเทาอาหารซึมเศร้า
แม้ว่า TMS อาจสามารถปรับปรุงภาวะซึมเศร้าที่ดื้อต่อการรักษาได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นการรักษาภาวะซึมเศร้าหรือป้องกันไม่ได้อาการกลับมาเป็นซ้ำอีก อย่างไรก็ตามสามารถเพิ่มพลังงานและแรงผลักดันของคุณได้อย่างเพียงพอเพื่อให้เริ่มการพูดคุยบำบัดหรือการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่นการปรับปรุงอาหาร, การออกกำลังกาย และการสร้างเครือข่ายทางสังคม ซึ่งจะช่วยเพิ่มรักษาอาการซึมเศร้าให้ฟื้นตัว
การรักษาทางเลือก และวิธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเอง
การแพทย์ทางเลือกสำหรับภาวะซึมเศร้า อาจรวมไปถึงวิตามินต่างๆและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, การฝังเข็ม และเทคนิกการผ่อนคลายต่างๆ เช่น การนั่งสมาธิ โยคะ หรือ ไทชิ
วิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับโรคซึมเศร้า
จากการวิจัยพบว่าการรักษาด้วยยาสมุนไพร วิตามิน หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าจะทำงานได้ดีเพียงใด ซึ่งมีขายทั่วไปตามร้านขายยา กรณีนี้ประสิทธิภาพยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ หากอาการซึมเศร้าส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะขาดสารอาหาร คุณอาจได้รับอาหารเสริม วิตามิน แต่ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
หากคุณตัดสินใจที่จะลองผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มาจากธรรมชาติและสมุนไพร จำไว้ว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงและปฏิกิริยาต่อกันของยาหรืออาหาร ตัวอย่างเช่น St. John’s Wort เป็นสนุนไพรที่มีแนวโน้มจะใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลางอาจรบกวนยาที่สั่งโดยแพทย์ เช่น ยาคุมกำเนิด และยาต้านเศร้าที่สั่งโดยแพทย์ ตรวจสอบเพื่อความมั่นใจว่าแพทย์หรือนักบำบัดทราบว่าคุณกำลังรับประทานอะไรบ้าง
การรักษาทางเลือกอื่นๆ
เทคนิคการผ่อนคลาย จะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า ซึ่งเทคนิคดังกล่าวอาจช่วยลดความเครียดและรู้สึกสนุกไปด้วย เช่น ลองเล่นโยคะ การฝึกหายใจลึกๆ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือการนั่งสมาธิ
การฝังเข็ม การฝังเข็มเป็นเทคนิคการใช้เข็มขนาดเล็กฝังลงไปในจุดเฉพาะ บนร่างกายเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แต่กำลังได้รับการตรวจสอบมากขึ้นว่าเป็นการรักษาภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ โดยมีงานวิจัยบางชิ้นที่เป็นไปได้ หากคุณตัดสินใจที่จะลองฝังเข็มควรตรวจสอบให้ดีก่อน แน่ใจว่าผู้ประกอบการมีใบอนุญาต
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
● https://www.nimh.nih.gov/health/topics/depression/index.shtml
● https://www.webmd.com/depression/default.htm
● https://www.nhs.uk/conditions/clinical-depression/
Leave a Reply